วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร


แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
               “แบบจำลอง  (Model) บางแห่งเรียกว่า รูปแบบ โอลิวา เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้ในสาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตร”  เป็นการนำเสนอภาพความคิดที่ได้จากการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่เริ่มต้น กระบวนการ และย้อนกลับมาเริ่มต้น เป็นวัฎจักร ซึ่งเป็นรูปแบบที่จำเป็นในการให้บริการในลักษณะของข้อแนะในการปฏิบัติ ซึ่งสามารถพบได้ในเกือบจะทุกแบบของกิจกรรมทางการศึกษา  ในเชิงวิชาชีพแล้วมีแบบจำลองจำนวนมาก  เช่น  แบบจำลองการเรียนการสอน  (models  of  instruction)  แบบจำลองการบริหาร  (models of administration)  แบบจำลองการประเมินผล (models  of  evaluation)  และ แบบจำลองการนิเทศ  (models  of  supervision)  เป็นต้น
              แบบจำลองบางรูปแบบที่พบในวรรณกรรมต่างๆ  บางแบบก็เป็นแบบง่ายๆ บางแบบก็มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก  และยิ่งมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งมีความใกล้กับความเป็นวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากขึ้นเท่านั้น  บางแบบจำลองใช้แผนภูมิซึ่งประกอบด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัส  กล่อง  วงกลม  สี่เหลี่ยมผืนผ้า  ลูกศรและอื่นๆ  ในสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง  (เช่น  การบริหาร การเรียนการสอน การนิเทศ  หรือ  การพัฒนาหลักสูตร)  แบบจำลองอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน  โดยที่ความคล้ายคลึงจะมีน้ำหนักมากกว่าแบบจำลองแต่ละแบบดังกล่าวเหล่านี้  บ่อยครั้งจะได้รับการกลั่นกลองและปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมที่มีอยู่แล้ว
              อย่างไรก็ตาม  ผู้ใช้หลักสูตรหรือผู้ปฏิบัติหลักสูตร ต้องรับผิดชอบต่อการเลือกใช้แบบจำลองที่มีอยู่แล้วในแต่ละสาขาวิชา และหากไม่ชอบใจก็อาจจะออกแบบจำลองของตนเองขึ้นใหม่ได้ โดยมิได้ปฏิเสธแบบจำลองทั้งหมดที่มีอยู่เดิม และอาจจะนำลำดับและขั้นตอนในแบบจำลองที่มีอยู่นั้นมารวมเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นแบบจำลองที่นำไปสู่การปฏิบัติได้แทนที่จะเริ่มใหม่ทั้งหมด
              แบบจำลองทางสาขาวิชาหลักสูตรที่เป็นที่รู้จักกันดี มักจะเรียกชื่อแบบจำลองตามชื่อของผู้ที่นำเสนอความคิดนั้น ๆ ในสาขาวิชาหลักสูตร ได้แก่ ไทเลอร์ (Tyler)  ทาบา (Taba) เซเลอร์และ   อเล็กซานเดอร์ (Saylor and  Alexandder)  วีลเลอร์และนิโคลส์  (Wheeler and Nicholls) วอคเกอร์  (Walker)  สกิลเบค  (Skilbeck)  โอลิวา (Oliva)  และ พรินท์ (Print)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...