วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง


ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
              การเมืองการปกครองเป็นที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนหรือกติกาต่างๆ  สำหรับสมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยและการอยู่รวมกันอย่างสันติ  ดังนั้น การเมืองการปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบาท  หน้าที่สิทธิ และความรับผิดชอบที่ทุกคนพึงมีต่อสังคมและประเทศชาติ  
              การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา  ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดีให้แก่สังคมให้อยู่ในระบบการปกครองประเทศชาติ  ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร  และควรแสดงแนวคิดปฏิบัติตนอย่างไรหลักสูตรของประเทศต่างๆ จึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
              ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง  ที่ควรจะนำมาเป็นเนื้อหาประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรก็คือ  ระบบการเมืองและระบบการปกครอง  นโยบายของรัฐและรากฐาน ของประชาธิปไตย
ระบบการเมืองการปกครอง   เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของสังคม  ดังนั้น การศึกษาระบบการเมืองการปกครองจึงแยกกันไม่ออก  หลักสูตรของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะบรรจุเนื้อหาสาระของระบบการเมืองการปกครองไว้  เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนอยู่ร่วมกันใจสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ในบางประเทศที่ต้องการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ประชาชน  เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรเลือกเนื้อหาวิชาประสบการณ์การเรียนรู้  และการจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองที่ต้องการปลูกฝัง
                นโยบายของรัฐ   เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ  ในสังคมการที่จะทำให้ระบบต่างๆ สามารถเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันจึงจำเป็นต้องมีการประสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้น  ด้วยเหตุนี้รัฐบายจึงมีนโยบายแห่งรัฐเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของระบบต่างๆ  ให้มีความต่อเนื่องและสอดคล้องซึ่งกันและกัน นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัดเจนคือ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา ในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย  เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน

              รากฐานของประชาธิปไตย จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นระบบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 นั้น ควรรู้ความเข้าใจตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยในสังคมไทยยังไม่เพียงพอ หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะวางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องซึ่งจะสร้างสรรค์ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข และไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน  นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอน  จึงควรมุ่งเน้นพฤติกรรมประชาธิปไตยด้วย สำหรับประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมานานแล้ว  แต่ทางปฏิบัติเราต้องยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์  ดังจะเห็นได้จากการราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนต่อรัฐ ไม่รู้ว่าตนเองมีความสำคัญมีส่วนมีเสียงในการปกครอง  ไม่รู้ว่าการเมืองมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตน ไม่เห็นความจำเป็นในการเลือกตั้งเป็นต้น  การศึกษาควรมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข  การจัดการเรียนการสอนควรเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง  ให้ประชาชนรู้หน้าที่ของตนในระบอบประชาธิปไตย  ให้สำนึกว่าการเมืองและการปกครองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม ทั้งที่ศึกษาอยู่ในระบบและนอกระบบ และ/ หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติจริงเพื่อสอดคล้องกับนโยบายที่ว่าการศึกษาและ/ หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาคือ กระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต  เมื่อเป็นเช่นการจัดหลักสูตรให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองจึงกระทำได้หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ มีจิตสำนึกในความร่วมมือ  เข้าใจบทบาทตนเองในด้านการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง
              เพื่อเป็นการวางรากฐานทางด้านประชาธิปไตย  การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย  ควรจัดตามลำดับดังนี้
              1. การจัดการศึกษาให้เท่าเทียมทั่วถึง
              2. ให้อำนาจการจัดการศึกษากระจายในท้องถิ่น
              3. ให้เสรีภาพและเสถียรภาพแก่บุคคล ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
              4. การเรียนการสอนควรส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ให้โอกาสผู้เรียนแสวงหาความรู้
              5. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาตนเอง
              6. จัดหลักสูตรให้ยืดหยุ่นได้ง่าย
              7. เน้นวิชามนุษย์สัมพันธ์และจริยธรรมเป็นพิเศษ

              นอกจากนั้นการปลูกฝังอบรมสั่งสอนนักเรียน ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นด้วยวิธีการดังนี้
              1. ชี้ให้เห็นประโยชน์ประชาธิปไตยโดยการให้คำแนะนำและปฏิบัติ
              2. สร้างนิสัยให้มีความกระตือรือร้น สนใจเหตุการณ์บ้านเมือง
              3. ปลูกฝังการมีวินัยและการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
              4. ฝึกการเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเข้มผู้เข้มงวด
              5. กระตุ้นและปลูกฝังให้มีความตั้งใจเรียน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ
              6. ฝึกให้ความสนใจและร่วมกันพิจารณาปัญหาต่าง ของสังคมและหาทางแก้ไข
              7. หาโอกาสให้ให้ความร่วมมือประกอบกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
              8. ช่วยแก้ไขค่านิยมที่ไม่เหมาะสมในสังคมและสร้างค่านิยมที่ดีและเหมาะสม
              9. ปลูกฝังทัศนคติที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องการให้ความร่วมมือ การเสียสละ และการช่วยชาติเพื่อบุคคลรุ่นใหม่จะได้เป็นนักการเรียนที่ดี
              10. ให้ความรู้และกระตุ้นให้สนใจการเมืองโดยคำนึงถึงหลักการ วิธีการ สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองของประเทศ
              11. ปลูกฝังให้มีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองทั้งในระดับโรงเรียน ท้องถิ่น และประเทศชาติ
              12. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีแนวคิดว่าทุกคนควรมีบทบาททางการเมือง และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม
              13. เน้นให้เห็นความสำคัญของการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
              จากตัวอย่างดังกล่าวพอจะเป็นแนวทางกำหนดเนื้อหา  กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ไว้เป็นหลักสูตร  เพื่อให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาเป็นผลเมืองที่มีคุณภาพสอดคล้องกับระบบการเมืองการปกครองของประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...