วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คำถามท้ายบทที่๑๑

คำถามท้ายบทที่๑๑

1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร
ตอบ   ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรคือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2. ขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีและจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนานจากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1) เสียง
2) รูปร่างหน้าตา
3) ความมั่นคงในอารมณ์
4) ความน่าเชื่อถือ
5) ความอบอุ่น
6) ความกระตือรือร้น
ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครูในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก เทคนิควิธีสังเกตการณ์สอนชั้นเรียน เป็นต้น
 ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้
1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม
 2) การอนุมานจากความคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความทรงจำ การถ่ายโอนความรู้ เป็นต้น

        


 ผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
 แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร

แนวโน้มของหลักสูตร
ออนสไตน์ได้สรุปไว้ว่าแนวโน้มของหลักสูตรมีดังนี้
1.การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ ความเจริญก้าวหน้าของวิดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาสอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และที่บ้านของนักเรียน วีดิโอทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถที่จะพิมพ์วิดิทัศน์หรือภาพจากจอในรูปของภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือ รูปภาพในแบบต่างๆลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อได้
  ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้
2.การรู้ใช้เทคโนโลยี โรงเรียนปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการใช้เทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์และหุ่นยนต์ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นหรือที่รู้จักกันว่า 3Rs
3.การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวโน้มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องจากความรู้ที่มีมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีผลต่อประชาชนในการประกอบอาชีพที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นในปีคริสต์ศตวรรษที่ 1990
4.การศึกษานานาชาติ สังคมอเมริกันถือว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาได้มาจากประเทศต่างๆ และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ หมู่บ้านโลก(global village) กล่าวถึงมาตรฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ(อเมริกา)มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆของโลก
5.สิ่งแวดล้อมศึกษา ผลจากปัญหาต่างๆนำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมที่มีวิชาที่เกี่ยวข้องคือธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน


 6.การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหารอย่างไรกรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข็มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา
7.สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่จัดเจนคือ นักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร
8.การศึกษาต่างด้าว สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมาก มาจากครอบครัวที่เรียกว่า ยากจน เด็กที่มาจากประเทศต่างๆจะถูกตีตราว่า ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
9.ภูมิสาสตร์ย้อนกลับ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมศาสตร์ อาทิเรื่อง back to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา เรื่องราวต่างๆที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น
10.การศึกษาช่วงเกรดกลาง ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น และวัยรุ่นตอนต้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ไม่เน้น interscholastic sport ถึงว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาหลักครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนโปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง
11.การศึกษาสำคัญผู้สูงอายุ สังคมปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักการศึกษามีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย)ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอนและแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้
12.ธุรกิจการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงกลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว (ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษาจากผู้เรียนโดยตรง
13.การศึกษาเพื่ออนาคต จากงานเขียนของทอฟเลอร์ ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง
 แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมหรือรายวิชาใหม่ จะถูกเรียกว่า การศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคต จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษาในโอกาสต่อไป สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นทั้งสององค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต โดยทั่วไปการมองอนาคตไม่ใช่ภารกิจที่เล็กๆ แต่เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปงอย่างรวดเร็ว


2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารย์ พานิช. วิธีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21  ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์  พานิช
ครูเพื่อศิษย์ต้องไม่ใช่แค่มีใจ  เอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น  ยังต้องมีทักษะในการ  “จุดไฟ”ในใจศิษย์ ให้รักการเรียนรู้ ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้น ให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต
ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กครูต้องตอบได้ว่า  ศิษย์ได้เรียนอะไร  และเพื่อให้ศิษย์ได้  เรียนสิ่งเหล่านั้น  ครูต้องทําอะไร  ไม่ทําอะไร  ในสภาพเช่นนี้  ครูยิ่งมีความสําคัญมากขึ้น  และท้าทายครูทุกคน อย่างที่สุดที่จะไม่ทําหน้าที่ครูผิดทาง คือ ทําให้ศิษย์เรียนไม่สนุกหรือเรียนแบบขาด ทักษะสําคัญ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  ต้อง  “ก้าวข้ามสาระวิชา”  ไปสู่การเรียนรู้  “ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่  21”  (21stCentury  Skills)  ที่ครูสอนไม่ได้นักเรียนต้องเรียนเอง  หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน  แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอํานวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียน แบบลงมือทําแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจ  และสมองของตนเอง  การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-based Learning)
ครูเพื่อศิษย์ต้องเรียนรู้ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้แบบ  PBL  ให้เหมาะ แก่วัยหรือพัฒนาการของศิษย์สาระวิชาก็มีความสําคัญ  แต่ไม่เพียงพอสําหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลก

ยุคศตวรรษที่  21  ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา  (Content  หรือ  Subject  matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์  โดยครูช่วยแนะนํา  และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ สาระวิชาหลัก
    ภาษาแม่ และภาษาโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์
    รัฐ และความเป็นพลเมือง
หัวข้อสําหรับศตวรรษที่ 21
    ความรู้เกี่ยวกับโลก
    ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
    ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
    ความรู้ด้านสุขภาพ
    ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ทัักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
    ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
   การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
   การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
   ความรู้ด้านสารสนเทศ
   ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
   ความรู้ด้านเทคโนโลยีทักษะชีวิตและอาชีพ
    ความยืดหยุ่นและปรับตัว
    การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
    ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
    การเป็นผู้สร้างหรือผลิต  (Productivity)  และความรับผิดรับชอบ  เชื่อถือได้ (Accountability)
    ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility)


นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
    มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
    หลักสูตรและการเรียนการสอนสําหรับศตวรรษที่ 21
    การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21

ศาสตราใหม่ สําหรับครูเพื่อศิษย์
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่  21”ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่  20  หรือศตวรรษที่  19  ที่เตรียม คนออกไปทํางานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่  21ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้  (Knowledge  Worker)  และเป็น บุคคลพร้อมเรียนรู้  (Learning  Person)  ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด  มนุษย์ใน ศตวรรษที่  21  ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้  และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้  แม้จะ เป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้  และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสําคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (Learning Skills)
การศึกษาในศตวรรษที่  21  จําต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคน  ไปเผชิญ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผัน และคาดไม่ถึง คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะ สูงในการเรียนรู้และปรับตัว
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะ เดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทําหน้าที่ครูในศตวรรษที่  21  ซึ่งไม่เหมือนการทําหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 20 หรือ 19
ทักษะของคนในศตวรรษที่  21  ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจน ถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R  ได้แก่  Reading  (อ่านออก),  (W)Riting  (เขียนได้)  และ  (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C  ได้แก่  Critical  Thinking  &  Problem  Solving  (ทักษะด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity & Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural  Understanding  (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork & Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา)
Communications, Information & Media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร) 
Career & Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจําการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจําการก็เรียนรู้สําหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดํารงชีวิตของตนเอง

ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช  และเป็น  “คุณอํานวย”(Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-based Learning) ของศิษย์ ซึ่งผม จะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบทต่อ ๆ ไป
ขอย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น  “ผู้สอน”  ผันตัวเองมาเป็นโค้ช  หรือ  “คุณอํานวย” ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL นั่นหมายถึง โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน ซึ่งต้องเน้นทั้งการเรียนของศิษย์และของครู
ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเรื่องยาก  จึงต้องมีตัวช่วย  คือ  ProfessionalLearning  Communities  (PLC)  ซึ่งก็คือ  การรวมตัวกันของครูประจําการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทําหน้าที่ครูนั่นเองขณะนี้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์(มสส.)  กําลังจะจัด  PLC  ไทย  เรียกว่า  ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์  (ชร.คศ.)  หรือใน ภาษาการจัดการความรู้  (Knowledge  Management  หรือ  KM)  เรียกว่า  CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง
ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์  (ชร.คศ.)  คือ  ตัวช่วยการเรียนรู้ของครู  เพื่อให้การ ปรับตัวของครู และการเปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครูไม่เป็น เรื่องยากแต่จะ สนุกเสียด้วยซ้ำ
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม  (Learning  and  Innovation  Skills) นี้คือ  ทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ในศตวรรษที่  21  ทุกคนต้องเรียน  เพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน  เป็นคนอ่อนแอ  ชีวิตก็จะยากลําบาก
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่  พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านนี้ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ตลอดชีวิต


วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้  ใช้หลักการว่า  ต้องมีการเรียนรู้แบบ ที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เองคือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และ เรียนรู้เป็นทีมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมนี้อยู่ที่ยอดของ Knowledge and Skills Rainbow ซึ่งเป็นหัวใจของทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้  (Learning  How  to  Learn  หรือ  Learning Skills)  และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น  (นวัตกรรม) ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
1.       การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  (Critical  Thinking)  และการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (Expert Thinking)
2.   การสื่อสาร  (Communication)  และความร่วมมือ  (Collaboration) ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (Complex communicating)
3.    ความริเริ่มสร้างสรรค์  (Creativity)  และนวัตกรรม  (Innovation) ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์
 ศิษย์ของท่านจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในการดํารงชีวิต  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง  แลเพื่อการทํางานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อการดํารงชีวิตในโลกของการงานที่เน้นความรู้  เป็นการท้าทายครูเพื่อศิษย์ว่า  ท่านจะออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ ของท่านอย่างไร  ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเหล่านี้ติดตัวไป  ทักษะเหล่านี้สอนโดยตรง ไม่ได้ แต่จัดกระบวนการให้เรียนรู้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...