ขั้นที่ 2
การร่างหลักสูตร
เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์ หรือการกำหนด
แนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยจุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
กิจกรรมและวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ
ทักษะ และทัศนคติตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในการร่างหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นที่ 1 คือ
ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชน ศักยภาพของโรงเรียน
หลักสูตรแกนกลางที่กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้วิชาที่ต้องการพัฒนา
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ
2.1
การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. จุดประสงค์ทั่วไป
เป้าหมายหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้นๆ
แล้ว ต้องนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมในขั้นที่ 1 มากำหนดเป็นจุดประสงค์ทั่วไป
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การกำหนดจุดประสงค์ต้องเขียนด้วยภาษาที่ชัดเจน
เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงภายใต้ศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา
ตัวอย่าง การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร
“การทำผลไม้แปรรูป คือ ให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำผลไม้แปรรูป”
2.
จุดประสงค์การเรียนรู้
- บอกความหมายของ
“ผลไม้แปรรูป” ได้
-
สามารถทำผลไม้แปรรูปได้
-
มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพการทำผลไม้แปรรูป
-
สามารถบรรจุหีบห่อที่สวยงามได้
-
สามารถตั้งราคาขายที่เหมาะสมได้
ฯลฯ
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
เนื้อหาสาระเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร
ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาสาระเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางที่จะพาผู้เรียนไปยังวัตถุประสงค์ที่ วางไว้
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใช้เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นบริบทของโรงเรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้
มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัยหรือลำดับขั้นของการพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
มีประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาที่เลือกมาสามารถจัดให้ผู้เรียนได้โดยพิจารณาถึงความพร้อม
ศักยภาพของโรงเรียน บุคลากรที่เป็นผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ
ตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตร “การทำผลไม้แปรรูป”
ประกอบด้วยเนื้อหาสาระดังนี้
-
ลักษณะและชนิดของผลไม้ที่นำมาแปรรูป
-
ขั้นตอนการทำผลไม้แปรรูป
- การทำความสะอาดเครื่องใช้
- การบรรจุหีบห่อ
- การตั้งราคาขาย
ฯลฯ
2.3
การจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอน คือ กิจกรรมที่ทั้งผู้เรียนเป็นผู้กระทำ
และกิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้กระทำ
มีการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน การบรรยาย การสาธิต
ผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาสาระที่กำหนดขึ้น
ครูต้องคำนึงถึงพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ซึ่งอาจมีการนำสื่อทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์
และบุคคล สถานที่ที่อยู่ในชุมชน เข้ามากำหนดเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้การเรียนรู้เชื่อมโยงกับชุมชน
ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนอันเนื่องมาจากการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้
กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมในลักษณะต่อไปนี้คือ ศึกษา ทดลอง สำรวจ ฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย สัมมนา
ระดมความคิด ฯลฯ ตัวอย่างกิจกรรม “ศึกษา” ได้แก่ (กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ , 2539:
9)
- ฟังคำอธิบายจากครู
-
ค้นคว้าจากห้องสมุดของโรงเรียน
-
ค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการอื่นๆ
- เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาบรรยาย
-
ออกไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
-
ออกไปสำรวจดูสภาพจริงในพื้นที่
- สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
- ออกไปทัศน์ศึกษา
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
-
นำหรือพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
ฯลฯ
นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว
ครูยังสามารถจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้โดยการจัดสื่อต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ , 2539: 17-18)
1. หนังสือเรียน
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียน
มีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง อาจมีลักษณะเป็นเล่ม
เป็นแผ่นหรือเป็นชุดก็ได้
2. คู่มือครู
แผนการสอนแนวการสอนหรือเอกสารอื่นๆ
ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
3. หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการศึกษาหาความรู้ของตนเอง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
การเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น
หนังสือประเภทนี้โรงเรียนควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์จำแนกออกเป็น 4 ประเภท
คือ
3.1 หนังสืออ่านนอกเวลา
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน
โดยถือว่าเป็นกิจกรรรมการเรียนเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
3.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม
เป็นหนังสือที่มีสาระ สำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล
หนังสือประเภทนี้เคยเรียกว่าหนังสืออ่านประกอบ
3.3 หนังสืออุเทศ
เป็นหนังสือใช้ค้นคว้าสำหรับอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียนโดยมีการเรียบเรียงเชิงวิชาการ
3.4 หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่าน
และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น อาจเป็นหนังสือสารคดี นวนิยาย นิทาน ฯลฯ
ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้
มีคติและสารประโยชน์
4. แบบฝึกหัด
เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะ
และความแตกฉานในบทเรียน
5. สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น สื่อประสม
วีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง ภาพพลิก แผ่นภาพ เป็นต้น
สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น
โรงเรียนสามารถเลือกใช้ ปรับปรุง
หรือจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
2.4
การกำหนดวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
เนื่องจากการพัฒนาหลักสูตร
จุดประสงค์ชัดเจนที่กำหนดความคาดหวังในคุณลักษะต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
รวมทั้งวิธีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่ผู้ใช้หลักสูตรหรือครูทราบว่าผลที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีส่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข
ผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใดนั้น
ต้องมีวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล ซึ่งการวัดและประเมินต่อผู้สอนที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนรวมทั้งตัวผู้สอนเองช่วยให้ผู้สอนทราบคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึงคุณภาพของหลักสูตร นำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ซึ่งการวัดและประเมินผลผู้เรียนมีทั้งก่อนการจัดการเรียนการสอน ระหว่างและสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน แล้วแต่ความเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น