วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์


รูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ (Hammond)
              โรเบอร์ต  แฮมมอนด์ (Robert Hammond) มีแนวคิดในการประเมินการหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้ายไทเลอร์  แต่แฮมมอนด์ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากไทเลอร์  โดยที่แฮมมอนด์เสนอว่า โครงสร้างสำหรับการประเมินนั้นประกอบด้วยมิติ (Dimensions)  ใหญ่ๆ หลายมิติด้วย  แต่ละมิติก็จะประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ  อีกหลายตัวแปร  ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปะทะสัมพันธ์  (Interaction)  ระหว่างตัวแปรในมิติต่างๆ เหล่านี้ มิติทั้ง 3 ได้แก่ มิติด้านการเรียน   การสอน  มิติด้านสถาบัน  และมิติด้านพฤติกรรม
              1. มิติด้านการสอน ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ  5  ตัวแปร  คือ
                   1.1 การจัดชั้นเรียนและตารางสอน คือการจัดครูและนักเรียนให้พบกันและดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งการจัดในส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงเวลาและสถานที่
                   1.2 เนื้อหาวิชา หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน การจัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับวุฒิภาวะของผู้เรียนและชั้นเรียนแต่ละระดับ
                   1.3 วิธีการ หมายถึง หลักการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียน รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
                   1.4  สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  หมายถึง  สถานที่  อุปกรณ์  เครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ  ห้องปฏิบัติการ  วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ  รวมถึงสิ่งที่มีผลต่อการใช้หลักสูตร  และการสอนด้านอื่นๆ
                   1.5 งบประมาณ หมายถึง เงินที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน      การซ่อมแซม เงินเดือนครู ค่าจ้างบุคลากรที่จะทำงานการใช้หลักสูตรประสบความสำเร็จ
              2. มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรที่ควรคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร 5 ตัวแปร คือ
                   2.1 นักเรียน มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สุขภาพกายและสุขภาพจิต ภูมิหลังทางครอบครัว
                   2.2 ครูมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการสอน เงินเดือน กิจกรรมที่ทำเวลาว่างการฝึกอบรมเพิ่มเกี่ยวการใช้หลักสูตรในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
                   2.3  ผู้บริหาร  หมายถึง  มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่  อายุ  เพศ  วุฒิสูงสุดทางการศึกษา  ประสบการณ์ทางการศึกษา  เงินเดือน  ลักษณะทางบุคลิกภาพ  การฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรในช่วงระยะเวลา 1-3  ปี และความพึงพอเคยใจในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ
                   2.4 ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ลักษณะของการให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือ ลักษณะทางบุคลิกภาพและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
                   2.5 ครอบครัว มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สถานภาพสมรส ขนาดครอบครัว รายได้ สถานที่อยู่ การศึกษา การเป็นสมาชิกของสมาคม การโยกย้าย จำนวนบุตรที่อยู่ในโรงเรียนนี้ และจำนวนญาติที่อยู่ร่วมโรงเรียน
                   2.6 ชุมชน มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สถานภาพชุมชน จำนวนประชากร การกระจายของอายุของประชากร ความเชื่อ (ค่านิยม ประเพณี ศาสนา) ลักษณะทางเศรษฐกิจ สภาพการให้บริการสุขภาพอนามัย และการรับนวัตกรรมเทคโนโลยี
              3.  มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือ พฤติกรรมด้านความ (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านทักษะ (Psychomotor Domain)  และพฤติกรรมด้านเจตคติ (Affective  Domain)
              แนวคิดการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์  เริ่มด้วยการประเมินหลักสูตรที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน  เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ  แล้วจึงเริ่มกำหนดทิศทางและกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร  ควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรมีดังนี้
              1. กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมินควรจะเริ่มต้นที่วิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร  เช่น  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  และจำกัดระดับชั้นเรียน
              2. กำหนดตัวแปรในมิติการสอนและมิติสถาบันให้ชัดเจน
              3. กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยระบุถึง 1. พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงว่าประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนด 2. เงื่อนไขของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น 3. เกณฑ์ของพฤติกรรมที่บอกให้รู้ว่านักเรียนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์มากน้อยเท่าใด
              4. ประเมินพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์ ผลที่ได้จากการประเมินจะเป็นตัวกำหนดพิจารณาหลักสูตรที่ดำเนินใช้อยู่เพื่อตัดสิน รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
              5. วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   ที่ตั้งไว้  และเป็นการตัดสินใจว่าหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด
              6. พิจารณาสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
              แนวคิดในการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์ใช้แนวคิดจองไทเลอร์เป็นพื้นฐานในการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  และการการใช้ข้อมูลจากการประเมินผลในการปรับปรุงจุดประสงค์ของหลักสูตรนั้น  แต่แฮมมอนด์ในแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ตัวแปรของมิติด้านการสอน  และมิติด้านสถาบันซึ่งอาจมีผลต่อความสำเร็จของหลักสูตรนั้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...