วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ ๖


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร ( SU Model)
การพัฒนาหลักสูตรได้มีผู้ให้แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น ไทเลอร์ (Tyler) ทาบา (Taba) โอลิวา (Oliva) เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor & Alexander) โบแชมป์ (Beauchamp) เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และออกแบบหลักสูตร (SU Model) ดังนี้

จากแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร (SU Model) เมื่อนำมาเทียบกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (บิดาแห่งการพัฒนาหลักสูตร) จึงได้ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน จากการตอบคำถามเบื้องต้นของไทเลอร์ ดังนี้
1.       จุดประสงค์ของการศึกษาของโรงเรียนคืออะไร (การกำหนดจุดประสงค์ วางแผน)
ก่อนกำหนดจุดประสงค์ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคม และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว นำข้อมูลมาตั้งจุดประสงค์ชั่วคราว จากนั้นพิจารณาข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ปรัชญา และทฤษฏีการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นจุดประสงค์ที่แท้จริง คำที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดประสงค์ของการศึกษาของโรงเรียน คือ ความมุ่งหมาย (Aims) จุดหมาย (Goals) และจุดมุ่งหมาย (Objectives) จึงอธิบายได้เป็นแผนภาพ ดังนี้

2.       ประสบการณ์ทางการศึกษาสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้คืออะไร (การออกแบบหลักสูตร)
เมื่อได้จุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตรแล้ว จากนั้นเป็นขั้นตอนของการออกแบบหลักสูตร โดยเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ซึ่งออนสไตน์และฮันคินส์ (Ornstein และ Hunkins. 1993 : 236 – 241) และ เฮนเสน (Hensen. 2001 : 199 – 201) กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
2.1 การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร (Scope) คือการกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อประเด็นสำคัญต่างๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่างๆของแต่ละระดับชั้น
2.2 การจัดลำดับการเรียนรู้ (Sequence) คือการจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา ควรจัดลำดับจากง่ายไปยาก
2.3 ความต่อเนื่อง (Continuity) คือการจัดเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทักษะต่างๆให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
2.4 ความสอดคล้องเชื่อมโยง (Articulation) คือเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ แม้ต่างวิชากันก็ตาม
2.5 การบูรณาการ (Integration) คือการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือจากรายวิชาหนึ่งไปอีกรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน
2.6 ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่างๆ ที่สำคัญคือความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เมื่อได้หลักพิจารณาทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว จากนั้นพิจารณารูปแบบของการออกแบบหลักสูตร ดังนี้
1.       การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Designs)
  • หลักสูตรแบบรายวิชา (subject design)
  • หลักสูตรแบบสาขาวิชา (discipline design)
  • หลักสูตรหมวดวิชา (broad fields design)
  • หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (correlation design)
  • หลักสูตรเน้นกระบวนการ (process design)
2.       การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Designs)
  • หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child – centered designs)
  • หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (experience – centered designs)
  • หลักสูตรแบบจิตนิยม (romantic /radical designs)
  • หลักสูตรมนุษยนิยม (humanistic designs)
3.       การออกหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ (Problem-centered Designs)
  • หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (life – situations designs)
  • หลักสูตรแกน (core designs)
  • หลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม (social problems and reconstructionist designs)
นอกจากนั้นแล้วต้องยึดหลัก 2(3R) 7C ดังนี้
3R  ได้แก่ Reading (อ่านออก), wRiting (เขียนได้) ,aRithmetics (คิดเลขเป็น)
3R โดย อ. ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ ได้แก่ Relevancy (ความสอดคล้อง)  Relationship(สัมพันธภาพ)
และ Rigor (ความเคร่งครัด)
7C (ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21) ได้แก่
1.       Critical thinking & problem solving
(ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ทักษะในการแก้ปัญหา)
2.       Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
3.       Cross-cultural understanding
(ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวน-ทัศน์)
4.       Collaboration, teamwork & leadership
(ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5.       Communications, information & media literacy
(ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
6.       Computing & ICT literacy(ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7.       Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
3.สามารถออกแบบประสบการณ์เหล่านั้นได้อย่างไร (การจัดการเรียนการสอน)
การออกแบบประสบการณ์การเรียนการสอนเป็นขั้นตอนกระบวนการหลักสูตรที่ต้องอาศัย การคิด พิจารณา และตัดสินใจ เพื่อการวางแผนสร้าง หรือจัดประสบการณ์ ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจำเป็นพิจารณาจากหัวข้อต่อไปนี้
สิ่งที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูล ดังนี้
  • ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
  • วิเคราะห์หลักสูตร
  • ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
  • ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
  • ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
  • ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
  • ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
  • จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
หลักในการจัดทำแผนการสอน ดังนี้
  • ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
  • ใช้วิธีการสอนอย่างไร
  • สอนแล้วผลเป็นอย่างไร
องค์ประกอบของแผนการสอน
  • สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
  • จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
  • เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
  • กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
  • สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม การเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
  • การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
4.       มีการวัดและประเมินผลอย่างไร (การวัดและประเมินผล)

แผนภาพการประเมินหลักสูตร



จากแผนภาพการประเมินหลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1.       การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ จะเป็นการประเมินเอกสารหลักสูตร ตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆว่าจุดหมาย  จุดประสงค์  โครงสร้างเนื้อหาสาระ  และวิธีการวัดและประเมินผลนักเรียนมีความสอดคล้อง  เหมาะสม ครอบคลุม  และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตร เหมาะกับการนำไปปฏิบัติหรือไม่ โดยจะทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
2.       การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร จะเป็นการประเมินการนำไปใช้ว่านำไปใช้ได้ดีกับสถานการณ์จริงเพียงใด  การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรทำอย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอะไรในการใช้หลักสูตรเพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นและสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร เป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยสัมฤทธิผลทางวิชาการและสัมฤทธิ์ผลที่ไม่ใช่ทางวิชาการ ซึ่งเมื่อพบข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ในทันที
3.       การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสูตรจะเป็นการประเมินระบบหลักสูตร คือ การประเมินที่ลึกล้ำและจะประเมินอย่างละเอียดกับทุกๆองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตร เพื่อเป็นการประเมินว่าหลักสูตรนี้ดีจริง สามารถนำไปใช้ได้จริง มีข้อผิดพลาดตรงนี้ ต้องแก้ไขอย่างนี้ ถือเป็นการประเมินที่สมบูรณ์และครอบคลุมมากที่สุด
จากข้างต้นมีคำที่สำคัญในการประเมินหลักสูตร คือ การนำหลักสูตรไปใช้ จึงขออธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
มีผู้ให้ความหมายของ “การนำหลักสูตรไปใช้” มากมาย เช่น โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)   ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน สันติ ธรรมบำรุง (2527.120)  กล่าวว่า  การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสงัด อุทรานันท์(2535:260)  ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ว่า เป็นขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน  ได้แก่การจัดเอกสารประกอบหลักสูตร  การเตรียมบุคลากร  การบริหารและบริการหลักสูตร  และการนิเทศการใช้หลักสูตร
ดังนั้น การนำหลักสูตรไปใช้ คือ การดำเนินการ หรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นการนำหลักสูตรไปใช้สู่การสอนจริง โดยมีผู้บริหาร และครูเป็นผู้นำหลักสูตรไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1.มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2.มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้
3.       ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เอกสารหลักสูตรต่างตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4.ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้ ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น
5.การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
6.หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
7.การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1.การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็นต้น
2.การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่า เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3.การสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ
3.       พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา, ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม
สามารถสรุปพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม ดังแผนภาพดังนี้
พื้นฐานด้านปรัชญา


พื้นฐานด้านจิตวิทยา


พื้นฐานด้านสังคม

4.       ทฤษฏีการเรียนรู้ (Learning Theory) การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center Learning)
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center Learning) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฏีกลุ่มมนุษยนิยม(Humanism Theory) โดยทฤษฏีนี้เชื่อว่า มนุษย์มีความดี และมีเสรีภาพในการเลือก มนุษย์มีอิสระที่สามารถนำตนเอง พึ่งตนเอง และทำประโยชน์ในสังคม ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเข้าใจผู้เรียนให้มากที่สุด ครูควรทำหน้าที่ให้ใกล้เคียงกับเพื่อน คือให้ผู้เรียนกล้าที่จะปรึกษา และรู้สึกอบอุ่น อีกทั้งควรปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยและเคารพเชื่อฟังกฎระเบียบ เมื่อครูเข้าใจความต้องการของผู้เรียนแล้ว จากนั้นครูควรวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การคิดอย่างสร้างสรรค์ และคุณภาพของผลงาน
5.       การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์เรียนรู้อื่นๆที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาค จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียนและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการจัดหลักสูตรสถานศึกษา
หลักการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
5.1 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย มาตรฐานแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ และการติดตามผล
5.2 การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
5.2.1 การกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค โดยพิจารณาจาก                                         มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
5.2.2 กำหนดเวลา จำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค
5.2.3 จำคำอธิบายรายวิชา
5.2.4 จำทำและออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะมีลักษณะที่บูรณาการภายใจและระหว่างสาระการเรียนรู้ และการออกแบบหน่วยการเรียนสามารถใช้ฐานความคิดต่างๆเป็นกรอบในการออกแบบหน่วยการเรียนได้
5.2.5 จัดทำแผนหน่วยการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...