หลักการจัดหาแหล่งการเรียนรู้
ในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีแหล่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป
การจัดหาแหล่งการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน มีหลัก 6 ประการดังนี้ (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสำนักงาน
2524 :9-10)
1.ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
แหล่งการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่น
เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพหลักของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
เศรษฐกิจเป็นต้น
2.ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อ
แหล่งการเรียนรู้ที่ดี ต้องเป็นแหล่งที่เดินทาง
ไปมา และสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ
ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า
3.ความประหยัดและประโยชน์
การใช้แหล่งเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงเวลาและเงินที่ต้องใช้ในการดำเนินการและประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับด้วย
ถ้านำมาใช้แล้วเสียเงินและเวลามากแต่ได้ประโยชน์น้อยก็ไม่สมควรใช้ เช่น
พาไปศึกษาที่ซึ่งห่างไกลจากโรงเรียนมาก
ครูและนักเรียนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก
ทำให้นักเรียนเหนื่อยจึงไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
4.ความเหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน
เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่สลับซับซ่อนนัก
หรือให้ดูโดยรวม ไม่ต้องดูส่วนย่อยๆ เช่น พาไปดูโรงงานทอผ้าควรให้ดูเกี่ยวกับ
สถานที่ วัตถุดิบ และผลผลิต ไม่ควรดูกระบวนการผลิต นอกจากนี้ วิทยากรควรใช้ภาษาง่ายๆ
ที่เด็กในวัยนี้เขาใจได้ดี
5.ความปลอดภัยและความถูกต้อง หมายถึง
ความปลอดภัยทั้งในการเดินทาง ในขณะศึกษาหาความรู้ และในการนำไปใช้ด้วย ส่วนความถูกต้องนั้น หมายถึง
ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องถูกต้อง ตรงตามหลักวิชา
6.ความรู้และประโยชน์ที่หลากหลากหลาย เช่น
พานักเรียนไปดูการทำและจำหน่ายเครื่องจักสาน นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวัสดุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต
รูปแบบของชิ้นงาน การประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ ประโยชน์ในการใช้งาน การจัดจำหน่าย
ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการดัดแปลงวัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ ได้เห็นวิธีการจัดร้าน วิธีการคิดราคาสินค้า
เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งในด้านการทำงาน การประกอบอาชีพในชุมชน การประกอบธุรกิจ การรวมกลุ่ม
ความคิดสร้างสรรค์
และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น