ขั้นติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
1.การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
การนิเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในหน่วยงานทุกแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา
เพื่อเป็นการช่วยปรับปรุงการเรียนการสอน สงัด อุทรานันท์ (2532 : 268-269) กล่าวว่า
การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในระหว่างการใช้หลักสูตรนั้น
หน่วยงานส่วนกลางในฐานะผู้พัฒนาหลักสูตรควรจัดส่งเสริมเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรเพิ่มเติม
และติดตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนว่าได้ดำเนินการด้วยความถูกต้องหรือไม่
มีปัญหาใดเกิดขึ้นหรือไม่หากไม่มีปัญหาก็จะได้แก้ไขให้ลุล่วงไปสำหรับหน่วยงานในระดับท้องถิ่นอาจดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรให้ดำเนินการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง
การนิเทศการใช้หลักสูตรหรือนิเทศการจัดการเรียนการสอน
ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญของการนิเทศ คือ
การให้คำแนะนำช่วยเหลือไม่ใช่การตรวจสอบเพื่อจับผิดแต่ประการใด
โดยลักษณะเช่นนี้
ผู้นิเทศจำเป็นจะต้องสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับผู้รับการนิเทศ
การดำเนินการนิเทศจะต้องดำเนินไปด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตยและร่วมมือกัน
2.การติดตามและการประเมินผลการใช้หลักสูตร
จะต้องมีการวางแผนไว้ให้ชัดเจนว่าจะทำการประเมินส่วนใดของหลักสูตร
ถ้าการวางแผนเกี่ยวกับการประเมินไม่ชัดเจนเมื่อมีความต้องการจะทำการประเมินในหัวข้อนั้นหรือส่วนนั้น
บางครั้งอาจจะกระทำไม่ได้ต่อเนื่อง ดังนั้น
การวางแผนเพื่อการประเมินหลักสูตรจะต้องชัดเจน
และจะต้องใช้วิธีการประเมินอย่างไรจึงจะได้ผลเป็นภาพรวมที่สามารถนำมาอธิบายได้ว่า
สิ่งใดเป็นบรรยากาศ
หรือสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเท่าที่ดำเนินการใช้หลักสูตรไปแล้วบรรลุถึงสิ่งที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
สามารถตอบสนองความมุ่งหมายหลักที่กำหนดไว้หรือไม่
การประเมินหลักสูตรว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การออกแบบประเมินที่กว้างและลึก
คือการมองภาพรวมทั้งหมดของการใช้หลักสูตรการหาตัวบ่งชี้สำคัญๆ
นั้นจะต้องระมัดระวังเรื่องตัวแปรทางด้านวัฒนธรรมสังคมและทางเศรษฐกิจด้วยเพราะบางอย่างผู้ประเมินอาจจะมองข้ามไป
เช่น
โรงเรียนขนาดใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าโรงเรียนขนาดเล็กองค์ประกอบที่ตั้งของโรงเรียน
ถ้าชุมชนให้ความสนับสนุนอย่างดีก็มีผลต่อการใช้หลักสูตร หรือโรงเรียนเล็กมากเกินไป
เช่น มีนักเรียน 40-50 คน มีครู 2-3 คนบางครั้งอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาได้มากเท่าที่ควรหลักการจะร่างให้ดี
สมบูรณ์สักเท่าใดก็ตามการนำหลักสูตรไปใช้ก็ควรจะพิจาณาให้รอบคอบ
ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีระบบกลุ่มโรงเรียนช่วยเหลือก็ตาม บริบททางสังคม
เศรษฐกิจและวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่มาช่วยเสริมให้สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าเหตุใดการนำหลักสูตรไปใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล
เพราะมีปัจจัยแทรกซ้อนทางเศรษฐกิจ
สังคมและค่านิยมของบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยข้อพิจารณาในการประเมินหลักสูตร
กระบวนการในการประเมินผลเพื่อควบคุมภาพของหลักสูตร ในแง่ของการปฏิบัติการกระบวนการของการประเมินผลเพื่อควบคุมคุณภาพของหลักสูตรแบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอนคือ การตรวจสอบหาประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
การตรวจสอบหาสาเหตุของความตกต่ำของคุณภาพ และการนำวิธีการต่างๆ
มาแก้ไขพร้อมทั้งตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการเหล่านั้น รายละเอียดของแต่ละขั้นตอน
มีดังนี้
1.
การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
วิธีการตรวจสอบเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน (Basic
Data) เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลระหว่างการดำเนินการ
ข้อมูลพื้นฐานนี้ควรเก็บรวบรวมในระหว่างที่นำหลักสูตรไปทดลองในภาคสนาม
ควรเก็บให้ได้มากและหลากหลาย
เราจะสรุปว่าคุณภาพของหลักสูตรต่ำลงก็ต่อเมื่อข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ
ที่รวบรวมได้หลังจากการทดลองใช้ในภาคสนาม
มีค่าต่ำกว่าข้อมูลที่รวบรวมได้จากการทดลองใช้ในภาคสนาม
อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระมัดระวังก็คือ
ในการเก็บข้อมูลทั้งสองครั้งนั้นจะกระทำในสภาพที่ใกล้เคียงกันที่สุด
มิฉะนั้นแล้วจะนำข้อมูลทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากการนำเอาหลักสูตรมาใช้ในระยะเวลาหนึ่งแล้ว
มีข้อมูลที่ควรรวบรวม 3 รายการ คือ ผลการทดสอบขั้นสุดท้าย (ผลการสอบปลายปี)
ผลการสอบแต่ละวิชาในแต่ละภาคเรียนและข้อมูลจากพฤติกรรมของเรียนและจากการเครื่องมือวัด
เช่น แบบทดสอบความสนใจและเจตคติ นอกจาก 3
รายการนี้เราอาจเก็บข้อมูลอื่นที่มีผลพาดพิงถึงคุณภาพของหลักสูตรด้วยก็ได้ เช่น
สถิติการยืมหนังสือของห้องสมุดการเลือกเรียนวิชาที่ไม่ได้บังคับ
และบันทึกเรื่องราวการกระทำต่างๆ ของผู้เรียน เป็นต้น
2.
การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
งานนี้เริ่มขึ้นเมื่อได้มีการพบแล้วว่าคุณภาพของหลักสูตรตกต่ำลง
มีสมมุติฐานหลายเรื่องที่อาจนำมาใช้ในการค้นหาสาเหตุที่สำคัญคือ
2.1
ความล้มเหลวในการใช้หลักสูตร
การที่จะใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิผลในทุกสภาพย่อมเป็นไปไม่ได้
หลักสูตรแต่ละหลักสูตรย่อมมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
และการที่บรรลุจุดหมายก็ต่อเมื่อได้มีการใช้หลักสูตรในสภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้นดังนั้น
สิ่งแรกที่พึงกระทำในการตรวจสอบหาสาเหตุก็คือ
ตรวจสอบดูว่าได้มีการนำหลักสูตรมาใช่อย่างไร ผู้สอนใช้วิธีการสอน
ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ
ข้อมูลที่รวบรวมได้นี้ จะช่วยให้ตรวจสอบได้ว่าสาเหตุของการตกต่ำของคุณภาพเกิดจากอะไร
2.2
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพและเงื่อนไขในเวลาที่นำหลักสูตรไปใช้
สภาพภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่นำหลักสูตรไปใช้ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทักเวลา
ตัวอย่างเช่น ในตอนที่ทำการทดลองใช้ในภาคสนามขวัญและกำลังใจของผู้สอนดีมาก แต่ตอนที่เอาหลักสูตรไปใช้จริงๆ
กลับลดต่ำลง และถ้าสภาพแบบอย่างอื่นๆ
ยังคงเหมือนเดิมเราก็อาจสรุปได้ว่าความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ
ของผู้เรียนในตอนแรกและตอนหลังย่อมมีสาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงด้านขวัญและกำลังใจนั่นเอง
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติสิ่งที่มีผลกระทบต่อคุณภาพไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว
ลักษณะเดียว หรือรูปแบบเดียว ดังนั้น การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดหลายๆ ด้าน
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกระทำเพื่อตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่แตกต่างกันมากนั้น
เป็นข้อมูลด้านใด ความกระตือรือร้นในการทำงาน ความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อหลักสูตรความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนในการใช้หลักสูตรใหม่
ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของหลักสูตรรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ
ได้แก่ที่ตั้งของโรงเรียน (อยู่ในเมือง
ชนบท อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ฯลฯ) ขนาดของชั้นเรียนความสมบูรณ์ของวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สื่อการเรียนการสอนและความร่วมมือของชุมชน
2.3
ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย
เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจเป็นไปได้ว่าลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองภาคสนามกับที่นำหลักสูตรมาใช้จริงมีความแตกต่างกันมาก
เช่น ในด้านระดับความรู้ความสามารถ เจตคติ
และค่านิยมที่มีต่อการเรียนในกรณีดังกล่าว ประสิทธิผลของหลักสูตรย่อมเปลี่ยนแปลงไป
การแก้ไขปัญหาทำได้โดยการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อควบคุมคุณภาพให้ใกล้เคียงกัน
2.4
วิธีการวิเคราะห์ผลการทดสอบ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการทดสอบหรือการประเมินผลนั้นมีทั้งการทดสอบระหว่างการดำเนินการ
หรือการทดสอบย่อย (Formative
Evaluation) และการทดสอบขั้นสุดท้าย
หรือการทดสอบรวม (Summative
Evaluation) การทดสอบรวมเป็นการทดสอบที่บอกให้เราทราบว่าหลักสูตรดีขึ้นหรือเสื่อมคุณภาพลง
แต่ไม่สามารถชี้แจงเจาะจงลงไปว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหนเพราะเหตุใด
ในทางตรงข้ามการทดสอบระหว่างดำเนินการหรือการทดสอบย่อย
ซึ่งใช้ในการวินิจฉัยจุดอ่อนของผู้เรียนสามารถช่วยให้เราทราบว่าหลักสูตรมีจุดอ่อนในเรื่องอะไร
และเป็นเพราะเหตุใด ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้การทดสอบย่อยเป็นเครื่องชี้ถึงสาเหตุการตกต่ำของหลักสูตร
วิธีวิเคราะห์การทดสอบย่อยมีหลายวิธี
วิธีแรกก็คือการเปรียบเทียบของการสอบในภาคเรียนหรือปัจจุบันกับผลการสอนในภาคเรียนหรือปีที่ผ่านมา
ปรากฏว่าผลการสอนของปัจจุบันดีกว่าปีที่ผ่านมา ผู้สอนก็ควรได้รับความชมเชย
และได้รับการสนับสนุนให้ปรับปรุงตน เพื่อให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
แต่ถ้าผลต่ำกว่าที่ผ่านมาก็ควรให้ผู้สอนตรวจสอบให้ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
และทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้
อีกวิธีหนึ่งคือการเปรียบเทียบผลการสอนที่ทำติดต่อกันหลายๆ
ครั้งโดยใช้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน ถ้าปรากฏว่าผลการสอบมีอัตราการสอบตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ก็แสดงว่าผู้สอนไม่ได้แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการสอบในครั้งก่อนๆ
แต่ถ้าผลออกมาในทางตรงกันข้ามก็แสดงว่าได้มีการนำเอาผลการสอบในครั้งก่อนๆ
มาปรับปรุงการสอนของตน
วิธีการวิเคราะห์อีกวิธีหนึ่งคือการวิเคราะห์ให้ละเอียดลงไปว่าในจำนวนข้อสอบทั้งหมดนั้นผู้เรียนทำผิดข้อใดมากที่สุด
และข้อใดที่ทำผิดลดหลั่นลงมา
ผลการวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องใด
และจากผลนี้ทำให้ตั้งสมมุติฐานได้ว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา
นอกจากข้อมูลจากผลการสอบย่อยแล้ว
ยังมีข้อมูลที่สามารถสรุปได้จากการประเมินผลและการวัดผลโดยวิธีอื่นๆ อีก เช่น
การสังเกตพฤติกรรมและกิจกรรมในชั้นเรียน ระเบียบและรายงานการวัดเจตคติ ความเข้าใจ
รวมทั้งผลจากการอภิปลายการสัมภาษณ์ และการศึกษารายกรณี ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์
และเมื่อนำมาวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่าจุดอ่อนของหลักสูตรคืออะไรอย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลามาก
3.
แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าความตกต่ำของคุณภาพหลักสูตรคือเรื่องอะไร
และเกิดจากสาเหตุอะไรแล้วขั้นต่อไปของกระบวนการควบคุมคุณภาพก็คือการแก้ไข
สำหรับการแก้ไขนี้อาจทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัญหาที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
ในบางกรณีอาจใช้วิธีปรับปรุงวิธีการสอนและแก้ไขหลักสูตรบางส่วน เช่น
ตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระแก้ไขวิธีสอนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เล็กลง
หรือให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตังเองมากขึ้น หรือร่นช่วงเวลาการทดสอบให้สั้นเข้า
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลจากผลการสอบเร็วขึ้น
การแก้ไขอาจก้าวไกลออกไปถึงขั้นการอบรมผู้สอน
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักสูตรมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่จะอบรมอย่างไรและเรื่องอะไร
ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาซึ่งพบจากการตรวจสอบในตอนต้น
อย่างไรก็ตามการแก้ไขการพัฒนาหลักสูตรจะต้องติดตามดูผลอย่างใกล้ชิด
การแก้ไขไม่จำเป็นต้องทีเดียวทั้งหมดแต่ควรใช้วิธีการทดลองกับกลุ่มเล็กๆ
ก่อนเมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงค่อยนำเอายุทธศาสตร์และวิธีการนั้นมาใช้ในวงกว้างต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น