ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการพิจารณาคุณค่าหรือนิยม (Worth
or Value) ของหลักสูตร ขั้นตอนหรือวิธีการประเมินจึงมีความสำคัญมาก
ซึ่งนักศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนในการประเมินหลักสูตรดังนี้
ทาบา (Taba,
1962: 324)
ให้แนวทางในการประเมินผลหลักสูตรเป็นกระบวนการมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.
วิเคราะห์และตีความตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรให้มองเห็นกระจ่างชัดในเชิงพฤติกรรมคือปฏิบัติได้จริง
(Formulation
and Clarification for Objective)
2.
คัดเลือกและสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับค้นหาหลักสูตร (Selection
and Construction of the Appropriate
Instruments for Getting Evidences)
3.
ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นประเมินผลหลักสูตรตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (Application
of Evaluative Criteria)
4.
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังจากนักเรียนและลักษณะของการสอนเพื่อนำมาประกอบในการแปรผลของการประเมิน
(Information
on the Background of Students and the Nature of Instruction in the Light Which
to Interpret the Evidences)
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539: 198-202) กล่าวว่า
ในการประเมินหลักสูตรนั้นผู้ประเมินผลควรดำเนินตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบดังนี้ คือ
1.
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินหลักสูตรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนก่อนว่า
จะประเมินส่วนใดหรืออย่างใดและในแต่ละเรื่องจะศึกษาบางส่วนในเรื่องนั้นๆ ก็ได้
2. ขั้นวางแผนออกแบบการประเมิน คือ
2.1 การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
2.2 การกำหนดแหล่งข้อมูล
2.3
การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.4
การกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน
2.5 การกำหนดเวลา
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
5. ขั้นรายงานผลการประเมิน
จากขั้นตอนในการประเมินหลักสูตรที่กล่าวมาทั้งหมด
สามารถสรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรได้ดังนี้
1.
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร
ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร
ในส่วนใดด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น
ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้องสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน
หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไรแค่ไหน หรือการนำหลักสูตรไปใช้ทั้งหมด
หรือจะประเมินหลักสูตรทั้งระบบการกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ
เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
และทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไป
2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล
การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมินเกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
การกำหนดวิธีการที่จะใช้การประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
3.
ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ
ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพมีความเชื่อถือได้
และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในบางครั้งถ้าจำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นในการรวบรวมข้อมูล
ควรพิจารณาผู้ที่จะมาทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเหมาะสม
เพราะผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล
พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์
สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6.
ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น
ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด
และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่
เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7.
ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น