วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมท้ายบทที่ ๓


กิจกรรมท้ายบทที่ 3 ประเภทของหลักสูตร
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร
1. หลักสูตรบูรณาการ 
      เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆมาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้   ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
รูปแบบการบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2.บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3.บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
2.หลักสูตรกว้าง 
          มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรกว้าง
1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ   ที่นำมารวมกันไว้
3.โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรกว้าง
ข้อดี
    - เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กัน         ดีมากยิ่งขึ้น
-ในการสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
-เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ข้อเสีย
   -ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
    -การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน



3. หลักสูตรประสบการณ์
      เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน  เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
ปัญหาสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่ ควรทำอะไรกัน
4.หลักสูตรรายวิชา
     เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรรายวิชา
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3. จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4. โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรรายวิชา
ข้อดี
- จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-  เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-  การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-   การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย
ข้อเสีย
-หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-หลักสุตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลัก เหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
5. หลักสูตรแกน
      เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร

สรุปใจความสำคัญของหลักสูตรแกน
        หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตรแกน จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
6. หลักสูตรแฝง
      เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝงกับการเรียนรู้พฤติกรรมจิตพิสัย
         โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
          หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด  และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
7. หลักสูตรสัมพันธ์รายวิชา
            เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ
วิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
     8. หลักสูตรเกลียวสว่าน
       เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาแนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่าน
          บรูเนอร์ (Bruner)  มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
แนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่านของดิวอี้
          ดิวอี้ (Dewey) มีความเชื่อว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน
       9.หลักสูตรสูญ
 เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยไอส์เนอร์  เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น คือ
      1. กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
      2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร

การนำแนวคิดหลักสูตรสูญไปปรับใช้
        เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา

การออกแบบหลักสูตร
   การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
    ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล                                   
 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน
     กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
           4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ
   ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
      การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล. 2545 : 97 – 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
          1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
          2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
     

           3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
          4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
          5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก

การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
   หลักสูตรประเภทต่างๆ
          ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละ รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย หรือเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามระดับการศึกษา ดังนั้นหลักสูตรแต่ละรูปแบบจึงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง รวมทั้งต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของหลักสูตร (curriculum desigh) แบบต่าง ๆ ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 10รูปแบบได้ดียิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
          1. หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines / subjects curriculum) กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
     1.1 หลักสูตรรายวิชา หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter curriculum)
     1.2 หลักสูตรกว้าง หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา   (fusion -curriculum)
     1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated curriculum)
     1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core curriculum)
     1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum)
          2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก มีรูปแบบของหลักสูตร
          3 รูปแบบดังนี้
     2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
     2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized curriculum)
     2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child – centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner – centred curriculum)
          3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบ ดังนี้
     3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess and life function curriculum)
     3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity and experience curriculum)
     3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach curriculum)
     3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based curriculum)


2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตร”
 การพัฒนาหลักสูตร
        นักการศึกษาได้อธิบายความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้อย่างน่าสนใจสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน
        วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร คือ การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและประเมินผลการใช้หลักสูตร การปรับปรุงแก้ไข และ       การให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอน รวมทั้งการบริหารและบริการหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร
จากความหมายดังกล่าว พบว่า การพัฒนาหลักสูตรนั้น มีความหมายที่ครอบคลุมในหลายมิติตั้งแต่ การวางแผนหลักสูตร จัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร (Curriculum planning)การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ (Curriculum implementation) และ       การประเมินผลหลักสูตร (Curriculum evaluation) 




แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์

           หนังสือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนBasic Principles of Curriculum and Instructionของไทเลอร์ ที่เขียนขึ้นในปี ค.. 1949 ถือว่าเป็นหนังสือต้นแบบ (classic) ทางด้านหลักสูตรและใช้เป็นหลัก ในการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในสถาบัน การศึกษาของสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ ได้แก่ หลักการและ เหตุผลในการพัฒนาหลักสตูร (Tyler’s rationale) ซึ่ง เน้นว่าการพัฒนาหลักสตูร และการสอนจะต้องตอบคําถามพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1) มีวัตถุประสงค์อะไรที่ สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุ 2) จะมีวิธีการคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ 3) จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะมีีประสิทธิภาพ และ 4) จะประเมินประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างไร มีรายละเอียดดังนี้
     1. มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาจะต้องกำหนดให้ผู้เรียนด้านจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษานี้ เมื่อกำหนดได้แล้วก็จะเป็นตัวช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดหลักสูตรสำหรับผู้เรียน โดยเฉพาะการจัดหลักสูตรเฉพาะด้านแก่ ผู้เรียนเฉพาะแบบ ที่การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะต้องศึกษาบริบทให้เข้าใจถ่องแท้ ก่อนจะดำเนินการระบุจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต่อผู้เรียนในประเด็นต่อไป
     2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สถาบันการศึกษาควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ขั้นนี้        ไทเลอร์สนใจวิธีการคัดเลือกประสบการณ์การเรียนอันเป็นสื่อที่จะทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ประสบการณ์การเรียนเป็นวิธีการหรือเป็นรูปแบบการเรียนรวมถึงสื่อ   การเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนรูปแบบการเรียนรู้หลากหลายที่  ผู้สอนจะจัดเตรียมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนโดยตรงและอ้อม ทั้งนี้การเลือกประสบการณ์การเรียนจะต้องคำนึงถึง ลำดับก่อนหลัง ความต่อเนื่องและบูรณาการ (Integraty) ของประสบการณ์เหล่านั้นด้วย
3. มีวิธีการจัดประการณ์ทางการศึกษาอย่างไร ที่จะทำให้การสอนมีประสิทธิผลหลังจากที่คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อสถานการณ์และรูปแบบ     การสอนอย่างหลากหลายให้ตรงตามจุดมุ่งหมายหลักสูตรแล้ว ในขั้นนี้ไทเลอร์มุ่งประเด็นไปที่วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านั้น ว่าผู้สอนจะสามารถถ่ายทอดหรือเชื่อมโยงองค์ความรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านสื่อประสบการณ์   เหล่านั้นได้อย่างไร ซึ่งต้องวิเคราะห์ให้สามารถปฏิบัติได้จริง
4. มีวิธีการประเมินประสิทธิผลประสบการณ์การศึกษาอย่างไร จึงจะประเมินได้ว่าบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ลำดับขั้นสุดท้ายของการวางแผนพัฒนาหลักสูตรนี้ ไทเลอร์พุ่งเป้าไปที่การประเมินประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การศึกษาเหล่านั้นให้กับผู้เรียน โดยไทเลอร์ให้ความสนใจว่าจะมีวิธีการเช่นไรในการตัดสินว่าประสบการณ์การเรียนการสอนเหล่านั้นมีประสิทธิภาพ    ก่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
       ทั้งนี้ ไทเลอร์เน้นลำดับขั้นของ 4 ข้อคำถามข้างต้นว่าจะต้องเป็นแบบเรียงลงมาจากข้อ 1 ถึงเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสำเร็จผลตามระบบที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรข้างต้นต้องประกอบด้วยมิติด้านความรู้ ด้านผู้เรียน และด้านสังคม ซึ่งไทเลอร์เชื่อว่า ทั้ง 3 มิติจะช่วยหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่มีความหมาย เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลักสูตรและการจัดการศึกษานั่นเอง
         จากการที่ไทเลอร์ได้วางรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ วิธีการและเป้าหมาย(meansendsapproach) สามารถสรุปแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ได้ ดังนี้


          แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
             สุเทพ อ่วมเจริญ ได้ศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรจากนักการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน ได้แก่ โอลิวาไทเลอร์,ทาบาเซลเลอร์อเล็กซานเดอร์และเลวีส และวิชัย วงษ์ใหญ่ โดยได้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ซึ่งมีรูปแบบดังแผนภาพต่อไปนี้






                     แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model


        จากแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรข้างต้น อธิบายได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร โดยมีมิติด้านความรู้ ด้านผู้เรียน และด้านสังคมเป็นตัวกำหนดทิศทางหรือเป็นเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งขั้นตอน        การพัฒนาหลักสูตรขยายความได้ดังนี้
         ขั้นตอนที่ 1 คือ การวางแผน (Planning)คือกำหนดวัตถุประสงค์และระดับคุณภาพการเรียนรู้
การวางแผนในขั้นนี้จำเป็นต้องอาศัยแนวคิดของไทเลอร์ที่ระบุว่า ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตระหนักว่ามีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่ต้องแสวงหา เพื่อให้สามารถระบุ จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนหลักสูตร นั่นคือการกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ชัดเจนนั่นเอง
         ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design)คือ     การเลือก และจัดระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ในขั้นนี้เป็นการนำเอาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำเป็นกรอบการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยแนวคิดของไทเลอร์ เกี่ยวกับข้อคำถามที่ 2 ที่ระบุว่า มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรต้องจัดให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย การศึกษาในขั้นที่ 1 โดยการออกแบบหลักสูตรนี้ต้องมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการและด้านการพัฒนา ผู้เรียน
        ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร(Organize) คือการบริหารจัดการและการนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นนี้ คือภาพสะท้อนกลับของการวางแผนหลักสูตร นั่นคือเมื่อวางแผนแล้วก็นำไปสู่การปฏิบัติโดยการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองต่อการวางแผนหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับคำถามข้อที่ 3 ของไทเลอร์ที่ระบุถึงว่าจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งด้านผู้สอนและด้าน การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
          ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate)คือ การตรวจสอบและประเมินการเรียนรู้ ขั้นนี้เน้นทั้ง การประเมินระบบหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับข้อคำถามของ ไทเลอร์ที่ระบุว่าจะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไร เนื่องจากการประเมินผลการเรียนรู้ จะช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร SU Model นี้ ได้เน้นมิติด้านความรู้ คือส่งเสริมให้ผู้เรียนเก่ง มีสติปัญญา มิติด้านผู้เรียน คือเน้นผู้เรียนเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้อย่างมีความสุข และมิติด้านสังคม ซึ่งเน้นผู้เรียนให้เป็นคนดี สามารถนำสังคมไปในทิศทางที่ถูกที่ควรได้ สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ เก่ง ดี มีสุข นั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ.    
          นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง
          สนามจันทร์
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.    
           กรุงเทพฯ : บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด.

การออกแบบหลักสูตร  (Curriculum Design)
          การออกแบบหลักสูตร  ตรงกับแนวคิดจากคำถามข้อที่  2  ของไทเลอร์  คือการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้  (Tyler , 1949 : 63  อ้างถึงในสุเทพ                   อ่วมเจริญ 2557 : 56)  ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาออร์นสไตน์  และฮันกิน  (Ornstein and Hunkins , 1998 : 264  อ้างถึงในสุเทพ  อ่วมเจริญ 2557 : 58 - 59)  โดยเน้นการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา  (Subject – center Design)  โดยอาศัยปรัชญาการศึกษาที่สำคัญคือ  สารัตถะนิยม  (Essentialism)  และนิรันตรนิยม  (Perennialism)  ได้แก่  หลักสูตรแบบรายวิชา  (subject design)  หลักสูตรแบบสาขาวิชา  (discipline  design)  หลักสูตรหมวดวิชา  (broad  fields design)  หลักสูตรสัมพันธ์วิชา  (correlation  design)  หลักสูตรเน้นกระบวนการ  (process design)  ผู้จัดทำเน้นศึกษาในหลักสูตรแบบรายวิชา  (subject design)     
          นอกจากนี้ทำการศึกษาหลักการออกแบบหลักสูตรมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ  ที่ได้เสนอหลักการที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนการสอนไว้ว่า  สถาบันการศึกษาจะจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สัมพันธ์กับกิจกรรมการสอนจะสะท้อนผลการเรียนรู้ในทางบวก  อันเป็นผลต่อทักษะ  ความรู้  เจตคติ  และพฤติกรรมของผู้เรียน  โดยมีหลักการ  (Principles) ต่อไปนี้
          1.  สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม  มีแรงจูงใจและมีแรงกระตุ้นปัญญา
          2.  ส่งเสริมสนับสนุนให้รู้จักการสืบเสาะค้นหาและตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมการสรรค์สร้างอย่างมีความคิดสร้างสรรค์โดยมีพื้นฐานอยู่บนผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
          3.  เน้นความสำคัญ  ความเกี่ยวโยงและการบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นมืออาชีพเพื่อพัฒนาให้กับการแก้ปัญหาที่นำไปใช้จริง
          4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรมที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกันทั้งด้านสังคมและการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
          5.  คุณค่าและความทรงจำของแต่ละบุคคลและวัฒนธรรมที่หลากหลาย  นำมาเป็นมาตรการในบริบทของการสนับสนุนและเกี่ยวข้องกับผู้เรียน
          6.  การเพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนมีผลต่อประสิทธิผลของหลักสูตร  การสอนและกลยุทธของการประเมิน
          7.  การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นการพัฒนาวิชาชีพ
          รวมทั้งศึกษาการออกแบบหลักสูตรรายวิชา  เวสมินส์เตอร์  เอ็กเชงจ์  มหาวิทยาลัยเวสมินต์เตอร์  ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบหลักสูตรรายวิชา  (Course  design)  โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.  ผู้ออกแบบคาดหวังว่าอะไรที่ช่วยให้หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
2.  สถาบันการศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรรายวิชา
3.  การประกันคุณภาพมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
4.  อะไรเป็นแบบจำลองที่ตรงกับความประสงค์ในการออกแบบหลักสูตร
5.  อะไรเป็นจุดหมายและผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
6.  การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
7.  อะไรเป็นกลยุทธในการเรียนรู้  การสอนและการประเมิน
8.  จะต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเรียนรายวิชาหรือไม่
9.  จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร  การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไร
10.  หลักสูตรจะพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายหรือไม่
อ้างอิงถึง สุเทพ  อ่วมเจริญ  (2557).  การเรียนการสอน : การออกแบบ  นวัตกรรมและเทคโนโลยี. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

http://gittiphonkkd.blogspot.com/2016/03/curriculum-design.html


คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...