วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

ทฤษฎีหลักสูตร

ทฤษฎีหลักสูตร
ความหมายของทฤษฎี
            ทฤษฎี(Theory) หมายถึง หลักการที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว และกำหนดขึ้นมาเพื่อจะได้ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (โชคสุวัฒน, 2534, 34)
           ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า “ทฤษฎี” หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
ความหมายของทฤษฎีหลักสูตร        
       ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตรโดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ชี้นำแนวทางการพัฒนาการใช้และการประเมินผลหลักสูตรประกอบกัน  (โชคสุวัฒน, 2534, 34)            
ทฤษฎีหลักสูตรชนิดต่างๆ
ทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.   ทฤษฎีแม่บท เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการ กฎเกณฑ์ทั่วๆไป ตลอดจนโครงสร้างของหลักสูตร
2.   ทฤษฎีเนื้อหา เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหา กล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3.   ทฤษฎีจุดประสงค์ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าจุดประสงค์นั้นๆได้อย่างไร
4.  ทฤษฎีดำเนินการ เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงว่า จะทำหรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร (รังสยาพนธ์, 2526, 25)
หน้าที่ของทฤษฎี
1.  จุดมุงหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา นักปรัชญายังหาคำตอบสำหรับคำถามของพวกเขา ความรู้คืออะไร ความจริงคืออะไร อะไรคือคุณค่า
2.   ทฤษฎีมาจากคำในภาษากรีกว่า theoria connoting แปลว่า “การตื่นตัวของจิตใจ” มันเป็นชนิดของ “มุมมองที่บริสุทธิ์” ของความจริง ทฤษฎี อธิบายความเป็นจริง ทำให้ผู้คนตระหนักถึงโลกของพวกเขาและปฏิสัมพันธ์
ทฤษฎีหลักสูตรของ Beauchamp
ความหมายของหลักสูตร
Beauchamp George (1981:67) ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง แผน ซึ่งประกอบด้วยประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในโรงเรียน
ทฤษฎีหลักสูตรในทัศนะของโบแชมพ์ ( George A. Beauchamp ) วิธีการพัฒนาทฤษฎีหลักสูตรของโบแชมพ์ มุ่งใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสร้างทฤษฎี สำหรับตัวทฤษฎีมุ่งเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรโดยตรง ซึ่งได้แก่การกำหนดองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นของการจัดทำหลักสูตรจนถึงการประเมินผล หลักสูตรอันเป็นการทำงานที่ครบวงจร
องค์ประกอบของหลักสูตร
       Beauchamp George (1981) กล่าวว่า องค์ประกอบหลักสูตรมี 4 ส่วน คือ
-          ขอบข่ายเนื้อหา
-          เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เฉพาะ
-          การวางแผนการใช้หลักสูตร
-          การพิจารณาตัดสิน
โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Curriculum design)
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล 
โบแชมพ์ ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ  Hilda Taba
 แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของ Taba มีบางอย่างคล้ายกับของTyler มาก แต่มีข้อรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันออกไป พอสรุปได้ 11 ประการดังนี้
1. ส่วนประกอบของหลักสูตร
2. การศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเป็นเครื่องกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
3. วัตถุประสงค์
4. เกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์
5. การเลือกเนื้อหาสาระและการรวบรวมพินิจ
6. เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ
7. ปัญหาเกี่ยวกับการจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
8. การจัดประสบการณ์การเรียน
9. ลำดับขั้นของการพัฒนาหลักสูตร
10. ยุทธวิธีการสอน
11. การประเมินผล (วิชัย วงษ์ใหญ่.พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่.2523:20)
สรุป ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ  Hilda Taba
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของ Hilda Taba เป็นทฤษฎีที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงองค์ประกอบและส่วนประกอบด้านต่างๆ ที่สำคัญของหลักสูตร ที่หลอมรวมกันเป็นหลักสูตรคุณภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าต้องการให้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรนำแนวทางนั้นไปทดลองและปรับใช้ในการเรียนการเรียนการสอนให้เห็นจริง จึงจะส่งผลให้หลักสูตรนั้นกลายเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...