วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตรขั้นพื้นฐาน


การพัฒนาหลักสูตรระดับขั้นพื้นฐาน
          การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องถึงหลักการของหลักสูตรและวีการใช้ด้ายการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรเข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่าง ๆ
1. หลักสูตรระดับชาติ เป็นหลักสูตรแกนกลาง หรือหลักสูตรแม่บทในระดับการศึกษาต่างๆ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา หลักสูตรมัธยมศึกษา หลักสูตรอาชีวศึกษา เป็นต้น เป็นหลักสูตรที่เขียนไว้กว้าง และบรรจุสาระที่จำเป็นที่ทุกคนในประเทศในระดับนั้นต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายของการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ คือ ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ประสาน 13 งานในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุกระดับในการควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ นับตั้งแต่การจัดทำหรือจัดปรับปรุงหลักสูตร จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร เช่น คู่มือครู แผนการสอน หนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบ เป็นต้น
2. หลักสูตรระดับสถานศึกษา เป็นการนำหลักสูตรระดับชาติมาพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ตามลักษณะทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและลักษณะพิเศษของท้องถิ่นเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. หลักสูตรระดับห้องเรียน การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียนเป็นการนำหลักสูตรมาพัฒนาสู่การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
บุคคลที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรระดับนี้ คือ ครูผู้สอน โดยการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียนก็คือ การพัฒนาการสอนของครู ซึ่งเป็นระดับของการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญที่จะทำให้หลักสูตรระดับท้องถิ่นและหลักสูตรระดับชาติบรรลุจุดมุ่งหมาย
ระดับประถมศึกษา
              การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน และสังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก เขียนได้คำนวณได้ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทำความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว ย่อมรู้จักรักทรัพยากรสิ่งแวดล้อม


ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหาความรู้ กำแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ  เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการต่างๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่างๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียนสามารถเสนอแนะทางเลือกอย่างหลากหลายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
            การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นตามแนวทางประชาธิปไตย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...