ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
หลังจากที่มีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรละปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรที่ร่างขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือ การนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก
ครูที่เป็นผู้ปฏิบัติการหลักในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้นำหลักสูตรไปใช้ ด้วยการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
การประสานงานกับบุคคลที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
จากภาพสรุปข้างต้นพบว่า การนำหลักสูตรไปใช้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแรกคือ
จุดประสงค์ของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมากำหนดไว้ว่าอย่างไรหลังจากนั้นจึงพิจารณาจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนนำมาสู่การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมในแต่ละคาบและในการจัดกิจกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ซึ่งสื่อการเรียนรู้ได้แก่ เอกสาร/ตำรา
แบบฝึกหัด โสตทัศนูปกรณ์
ต่างๆ
นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น
จากบุคคลได้แก่ ครู วิทยากรในและนอกชุมชน สถาบันทางสังคม ได้แก่
โรงเรียน กลุ่มโรงเรียน สมาคมต่างๆ ธนาคาร/มูลนิธิ ฯลฯ
หรือเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่
ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง
ทะเล ภูเขา เหล่านั้นเป็นต้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ตามมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลังว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
การนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ซึ่งในที่นี้
การเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
(สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,2542 : 7)
การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีดังนี้
(สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,2542 : 9-15)
1.
การเรียนรู้โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง
การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ ให้มีความหมายต่อตนเองจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
โดยการใช้กระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง
ให้ผู้เรียนค้นพบข้อความรู้และประสบการณ์ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
จัดโอกาส จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งวิทยาการ
ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ขอบเขตเนื้อหาของการเรียนรู้โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองคือ การฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์
การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory
learning : pl) กระบวนทางปัญญา 10 ขั้น ของ ศ.
นพ.ประเวศ วะสี ซึ่งได้แก่ การสังเกต การบันทึก การนำเสนอ การฟัง การถาม-ตอบ การตั้งสมมติฐาน การค้นหาคำตอบ
การวิจัย การเชื่อมโยง การบูรณาการ และการเรียบเรียง
2. การเรียนรู้เรื่องของตนเอง
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเอง
การรับรู้และตระหนังในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม
ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มีความเพียรพยายามในการทำความดี
การเสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดีงามในตนเอง
การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
การตระหนักถึงคุณค่า
และพัฒนาคุณภาพของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนขอบเขตเนื้อหา ได้แก่
การเรียนรู้เรื่องตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
และเรื่องศิลปวัฒนธรรมกลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น
การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง การฝึกปฏิบัติ
(learning by
doing) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การฝึกทักษะกระบวนการคิด
3.
การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
3.1
การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง
การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญจำเป็นคือ
การรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความตระหนักรู้ในตน
มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม
รู้จักการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา
รู้จัดการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
ขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วยทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นข้างต้น
รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา การเลือกบริโภคสื่อ ยาเสพติดศึกษา
ทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเพศ
การแก้ไขความขัดแย้งและความรุนแรงในครอบครัวและสังคม
3.2
การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษาการประกอบอาชีพ
หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะกับตนเอง
รู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพสุจริตเหมาะสม
สามารถพึ่งตนเองและเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วยทักษะเกี่ยวกับการสร้างนิสัยรักการทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม
4 ประการ คือ ความอดทน ความซื่อสัตย์ รู้จักเสียสระและความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
รู้จักแก้ปัญหา รวมทักษะในการจัดการ กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การฝึกปฏิบัติจริง การสาธิต การทดลอง
(Experimentation)
4. การเรียนรู้ที่มุ้งพัฒนากระบวนการคิด
การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ
หมายถึง
การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และฝึกปฏิบัติจริง
เพื่อสามารถเผชิญและผจญกับปัญหาและการจัดการกับภาวะต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมขอบเขตเนื้อหาของการเรียนรู้ที่พัฒนากระบวน การคิด
การแก้ปัญหาจากประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ
โดยการสังเกต การเปรียบเทียบ การตั้งคำถาม
แปลความหมาย ตีความ ขยายความ
อ้างอิง คาดคะเน การสรุปความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการคิดวิเคราะห์
กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการใช้กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม (Group
Process) กระบวนการทางปัญญาของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
5. การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ้งให้ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาตนเองทางจิตใจ บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยขอบเขตเนื้อหาคือ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์สังคมศาสตร์
ภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ตลอดการเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาท วิธีปฏิบัติตนทางกาย วาจาใจ
ความมีสติสัมปชัญญะ
การมีคุณธรรมสำคัญ
ความรักในเพื่อนมนุษย์
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการพัฒนาจิตใจ
บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย กลยุทธ์ และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการการฝึกปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
6. การฝึกการเรียนรู้ที่มุ้งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง
การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การเคารพให้สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก ขอบเขตเนื้อหาคือ ความรู้ความเข้าใจ ความศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความรักและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ความเป็นพลเมืองดี การรักษาประโยชน์ส่วนร่วม
กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การฝึกปฏิบัติจริง
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การเรียนจากสถานการณ์จำลอง (Simulation)
7.
การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
และความ ตระหนังในคุณค่าของความรู้ต่างๆ
ที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดยภูมิปัญญาไทย ตลอดจนมีความรัก ชื่นชมและหวงแหนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืน ตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากขอบเขตเนื้อหา เกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรรม
อุตสาหกรรมและหัตกรรม
การแพทย์แผนโบราณ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจชุมชน สวัสดิการ ศิลปกรรม
การจัดการองค์กร
ภาษาและวรรณกรรม ศาสนาและประเพณี การศึกษา
กีฬาและนันทนาการกลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น
การเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น
ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน การเรียนรู้โดยปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกระบวนการคิดวิเคราะห์
8. การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง
การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
สังเคราะห์ สรุปผล
เพื่อแก้ไขปัญหาและกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษากลยุทธ์และเครื่องมือการวิจัยในการศึกษา เช่น
ระบบบริหารของสถานศึกษาองค์ความรู้เรื่องการวิจัยของผู้บริหารและครูอาจารย์ การสร้างแรงจูงใจ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุน การประเมินคุณภาพ
9. การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน
หมายถึง การที่ครอบครัวชุมชน
และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กลับผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้อย่างเต็มความศักยภาพ
ขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการร่วมการจัดทำหลังสูตรการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษา
การประเมินคุณภพทางการศึกษากลยุทธ์และเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากชุมชน
เช่น เทคนิคการบริหารอย่างมีส่วนร่วม
การกระจายอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกลับชุมชน
10. การประเมินผู้เรียน หมายถึง
กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ
คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่อย่างไรขอบเขตเนื้อหา เกี่ยวข้องกับวิธีประเมินผล เครื่องมือในการประเมินผล องค์ความรู้ในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการประเมินผลของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อกลยุทธ์และเครื่องมือในการประเมินผลผู้เรียน เช่น
การประเมินผลตามจริง แฟ้มสะสมงาน การสังเกต
การสัมภาษณ์
การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น