วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คำถามท้ายบทที่ ๕


คำถามท้ายบทที่ ๕
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ   พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรมีสิ่งที่จะต้องกระทำเป็นประการแรกคือการกำหนดความมุ่งหมายในการกำหนดความมุ่งหมายจะต้องคำนึงถึงจิตวิทยา ปรัชญา เศรษฐกิจ การเมือง  การปกครอง สังคม จริยธรรม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีซึ่งแวดล้อมตัวผู้เรียน


รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา

โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วยวงกลมซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
1.  K = ด้านความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม(Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Parennialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
2. L = ด้านผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. S = ด้านสังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา

 พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรโดยทั่วไปประกอบด้วยพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคม และพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
                ปรัชญาการศึกษา คือแนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษาพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาทำให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจนปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางการศึกษาดำเนินการทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสมเหตุสมผล
ปรัชญาการศึกษา สามารถแบ่งเป็นยุคสมัยได้ดังนี้
                ยุคสมัยเก่า เน้นความรู้ (Knowledge) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism) เป็นปรัชญาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาทั่วไปสาขาจิตนิยม (idealism) และสัจนิยม (realism) ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นเครื่องมือของสังคม และสืบทอดวัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่ต่อไป การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงามมั่นคงมีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรณ์ศิลปะการพูด คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี
ยุคสมัยปัจจุบัน เน้นผู้เรียน (Learner) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
ปรัชญาอัตนิยม หรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม หรือปรัชญาสวภาพนิยม(existentialism) ปรัชญานี้  มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคน สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้น การอยู่เพื่อปัจจุบัน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อยู่อย่างมีความสุขการจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง
แนวคิดใหม่ เน้นสังคม (Society) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
ปรัชญาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยตรง เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น

2. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
                ข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ หรืออาศัยนักจิตวิทยาให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำหลักสูตร ในประเด็น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร คาบเรียน เกณฑ์อายุมาตรฐานการเข้าเรียน การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
                พื้นฐานทางด้านจิตวิทยาในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist theory) มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อ  พฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อม นั่นคือ ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (Cognitivist theory) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข
               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivationtheory)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน(self)ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่บุคคลได้มีโอกาสเลือกการกำหนด้วยตนเอง(selfdeterminism)ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม(Constructivism  theory)  เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้นี้จะฝังติดอยู่กับคนสร้าง ดังนั้นความรู้ของแต่ละคนเป็นความรู้เฉพาะตัวเป็นสิ่งที่ตนสร้างขึ้นเองเท่านั้น โดยนักเรียนจะเป็นผู้กำหนดหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียนและวิธีการเรียนของตนเอง และเป็นผู้ตัดสินว่าตนเองจะได้เรียนรู้อะไร  เรียนรู้อย่างไรและพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร  สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในบริบทอื่นได้อย่างเหมาะสม  เรียนรู้จากการปฏิบัติมีอิสระในการคิดและทำสิ่งต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง  และเรียนรู้บรรยากาศการเรียนที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ภายใต้การอำนวยความสะดวกของครู

 3. พื้นฐานทางด้านสังคม
บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของการศึกษา คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมให้สอดคล้อง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่างๆรวมทั้งสนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆดังนั้นการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอจึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสังคม
หนังสือคลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม ของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการคลื่นลูกที่ห้าอันเป็นคลื่นของสังคมแห่งอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง คลื่นลูกใหม่ๆจะเกิดขึ้นตามมาอีก อันเป็นวัฏจักรธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อประมวลภาพที่นักอนาคตวิทยาพยายามฉายภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วสามารถสรุปลักษณะของพัฒนาการของสังคมและพฤติกรรมการสื่อสารในยุคต่างๆได้ดังนี้
1. ยุคสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) เป็นสังคมเชิงซ้อนที่มีสมาชิกในครัวเรือนอยู่ร่วมกันหลายรุ่น รู้จักทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการศึกษาจะสอนการดำรงชีวิตตามสภาพ
2. ยุคสังคมอุตสาหกรรม (Industrial Society) ในยุคนี้สังคมมีการพัฒนาแปรรูปเป็นสังคมเชิงเดี่ยวมีการใช้แรงงานเด็กและสตรนโรงงานเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรมการจัดการศึกษาใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือทำเป็นขั้นตอนจัดระบบเป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบ
3. ยุคสังคมข่าวสาร (Information Society) สังคมในยุคนี้มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ด้านเครือข่ายการสื่อสารและคมนาคม ทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว มนุษย์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูลจัดเก็บสารสนเทศเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้สะดวกรวดเร็วช่วยนกในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4. ยุคสังคมฐานการเรียนรู้ (Knowledge based Society) ในยุคนี้ทุกคนถูกบังคับให้ต้องให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นตามลำดับ โดยมีความรู้เป็นแกนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่เหมาะสม ดังนั้นสภาพของแรงงานในยุคนี้จะเป็นแรงงานที่มีความรู้
               5. ยุคสังคมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence society) จะเน้นการใช้ปัญญาควบคู่กับการพัฒนาความสำเร็จของประเทศและสังคมในยุคนี้ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบใดๆ แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถและวิสันทัศน์ทางปัญญาของประชาชนและผู้นำในสังคมที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้สังคมอนาคตของมนุษยชาติ








 4. พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนที่มีความทันสมัย
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
          4.1เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
          4.2การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น




2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร: พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร”
ตอบ  ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะการนกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดดังกล่าวแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร คือ แนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific manament) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มผลผลิต (product approach) ซึ่งได้แก่ Tyler (1949), Taba (1962), Saylor, Alexander และ Lewis (1981) โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นจะกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูปแบบของความรู้ ทักษะ และเจตคติ หรือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ตามแนวคิดของบลูม
ความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร       
          การพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับจะมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาทั้งสิ้น ระดับชาติ/กระทรวง และระดับเขตพื้นที่ จะเป็นกรอบหลัก ๆ เชิงนโยบาย ส่วนระดับสถานศึกษา และระดับห้องเรียน/ชั้นเรียน จะเป็นระดับการปฏิบัติจริงที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เหมือนกัน (สาระแกนกลาง) แต่จะแตกต่างในการจัดการเรียนรู้สาระท้องถิ่น/รายวิชาเพิ่มเติม ที่กล่าวไปข้างต้นสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณค่า มีความรู้ความสามารถ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  การพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา และระดับห้องเรียน/ชั้นเรียน น่าจะเป็นระดับพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเยาวชน ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป การพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (จัดกระทำในรูปแบบของคณะกรรมการ) ส่งต่อการใช้หลักสูตรสถานศึกษาให้ระดับห้องเรียน/ชั้นเรียนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนทุกคน ที่จะนำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (กลุ่มสาระ/รายวิชา) ไปออกแบบหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ วิธีการวัดประเมินผล+เครื่องมือวัด (ขั้นเตรียมการ)  ขั้นจัดการเรียนรู้ และวัดและประเมิน ตามลำดับ  การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียน/ชั้นเรียน คือ การบริหารจัดการให้หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระ/รายวิชา ทุกระดับชั้น มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้จัดการเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษามากที่สุด ครูผู้สอนเองได้ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรของตนเองอยู่แล้วทุกปีการศึกษา แต่อาจไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นการพัฒนาหลักสูตร สรุปง่าย ๆ เช่น การปรับหน่วยการเรียนรู้บ้าง ปรับกิจกรรมการเรียนรู้บางกิจกรรมบ้าง ปรับสื่อบ้าง การปรับรายวิชาเพิ่มเติมเป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผลงานวิชาการทั้งหลายล้วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรทั้งสิ้น ทิ้งท้ายคงหนีไม่พ้นที่ต้องตั้งคำถามแบบเจาะใจกันเลยทีเดียวว่าท่านใช้และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของท่าน ให้เป็นพิมพ์เขียวหรือเข็มทิศในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือมีหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไว้เพื่อการอื่นมากกว่า


  องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตร
          องค์ประกอบของหลักสูตร ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์เพราะองค์ประกอบเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ในด้านการจัดการเรียนรู้การบริหารหลักสูตรการวัดและประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรดังต่อไปนี้
 ธำรง บัวศรี (2542 : 8 - 9) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรพอสรุปได้ดังนี้
1.  เป้าหมายและนโยบายการศึกษา (Education Good and Policies) หมายถึง สิ่งที่รัฐต้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา
2.   จุดหมายของหลักสูตร (Curriculum Amis) หมายถึงผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
3.    รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (Type and Stucture ) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์
4.    จุดประสงค์ของวิชา (Subject  objectives) หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นแล้ว
5.    เนื้อหา (Content)หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มี รวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ  ซเลอร์ และอเลกซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974 : 100) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย
1.   แผน
2.   ขอบเขตของหลักสูตร
3.   การออกแบบหลักสูตร
4.   รูปแบบการประเมินผล
5.   ระเบียบการประเมินผล

ไทเลอร์ (Tyler, 1950 : 1 อ้างถึงใน ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์, 2551 : 48 ) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้
1.    ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2.    เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3.    ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4.    ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
            ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ  ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
            ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
ลักษณะปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบที่แน่นอนพอสมควร โดยทั่วไปประกอบด้วยประเด็นดังนี้
            1. คำจำกัดความของการศึกษา
            2. ความมุ่งหมายของการศึกษา
            3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
            4.  เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554) สรุปสาระสำคัญของปรัชญาการศึกษาไว้ ดังนี้
สารัตถนิยม (Essentialism) การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางสังคม การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ ให้กับผู้เรียน
นิรันตรนิยม / สัจจนิยม (Perennialism) มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมตนเอง การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ การใช้เหตุผล และตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
          อัตถิภาวนิยม / สวภาพนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง
ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
พิพัฒนนิยม (Progressivism) การดำรงชีวิตที่ดี อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำ การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือกระทำ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5 ยุคคือ
1.ยุคเกษตรกรรม
2.ยุคอุตสาหกรรม
3.ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล
4.ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้
5. ยุคปัญญาประดิษฐ์
            การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เพราะบางรายวิชา สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา  โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ



พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
1.นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
2.ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม

 พื้นฐานทางด้านการเมือง การปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น
    
 พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การเตรียมกำลังคน การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม

6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...