วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คำถามท้ายบทที่ ๖


คำถามท้ายบทที่ ๖
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ  ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่นำเสนอในที่นี้มีทั้งหมด 6  แบบ ได้แก่
     1)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
     2)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
     3)  แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
     4)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
     5)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
     6) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
      แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร (ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แสดงดังภาพประกอบที่1

ภาพประกอบ 1 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ที่มา : Allan C. Ornstien & Francis P. Hunkins, (1998 : 198).

ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
            4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
      ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน



ภาพประกอบ 2  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา

แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
               จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม และอื่นๆ
2. การออกแบบหลักสูตร
               นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3. การนำหลักสูตรไปใช้
      ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร
      นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย การประเมินมีจุดเน้น 2 ประเภท คือ 1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด


แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ดังภาพประกอบ 3


ภาพประกอบ 3 แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4


ภาพประกอบ 4 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา

ภาพประกอบ 5 แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
และจากภาพประกอบ 5 โอลิวา (Oliva.P.E 1992) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน 12 ตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
ขั้นที่ 3 และ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ 6 และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
ขั้นที่ 12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6


ภาพประกอบ 6 รูปแบบและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของวิชัย วงษ์ใหญ่

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
      จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้

ภาพประกอบที่ 7 SU Model
ที่มา สุเทพ อ่วมเจริญ 2555 : 78
SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
      กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
      สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
      การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
      สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร


2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร: แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร”
ตอบ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
                สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 23) ได้ประมวลผลจากแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในไทย ร่วมกับการศึกษางานวิจัยและประสบการณ์การสอนในสถาบันอุดมศึกษา ได้มโนทัศน์ที่เป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ประกอบด้วย ขั้นตอน  ดังภาพประกอบ


ที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 23)

ขั้นตอนที่ การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) จะสอดคล้องกับ คำถามข้อที่ 1 ของ Tyler ที่ว่าจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงเป้าหมายหลักสูตรที่เน้นด้านความรู้ ด้านผู้เรียน และด้านสังคม โดยต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญด้านต่างๆในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งพื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม และอาจมีพื้นฐานด้านอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกกจากนี้นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาประเด็นต่างๆ เพื่อนำมาร่วมใช้ในการวางแผนหลักสูตรทั้งในเรื่องของ สี่เสาหลักการศึกษา/ ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21/ พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม/ การศึกษามาตรฐานสากล/ และการวางแผนสำหรับผู้เรียนทุกคน (Developed planning for all learners: PAL)โดย Grace Meo ซึ่งแผนนี้อยู่บนฐานของแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้ (Universal Design for learning: UDL) สำหรับผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้คือ วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
ขั้นตอนที่ การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) จะสอดคล้องกับคำถามข้อที่ 2 ของ Tyler ที่ว่าประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา ซึ่งการออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร นำไปสู่การจัดเนื้อหาสาระ เพื่อช่วยให้ผู้สอนเลือกและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม และรวมไปถึงการประเมินผลด้วย โดยนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาประเด็นต่างๆ เพื่อนำมาร่วมใช้ในการออกแบบหลักสูตรทั้งในเรื่องของ World Class Education/  โมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ / รูปแบบการออกแบบหลักสูตรเน้นเนื้อหาวิชา  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ/ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนและผู้สอน ม.กริฟฟิธ/หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก๊อตแลนต์/ การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา/ การออกแบบหลักสูตรแบบ Backward Design/ การออกแบบหลักสูตรรายวิชา ตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ / การออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐาน สำหรับผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้คือ พันธกิจของหลักสูตร
ขั้นตอนที่ การจัดการหลักสูตร (Curriculum Organization) จะสอดคล้องกับคำถามข้อที่ 3 ของ Tyler ที่ว่า จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ และยังรวมไปถึงการนิเทศการศึกษา และการนิเทศการสอน โดยนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาประเด็นต่างๆ เพื่อนำมาร่วมใช้ในการจัดการหลักสูตรทั้งในเรื่องของ แนวคิดการจัดระบบหลักสูตรที่ดีตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน และเฮนสันทฤษฏีการเรียนรู้ของบลูมและทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม มนุษย์นิยม และสร้างสรรค์นิยม/ แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนตามแบบจำลอง ADDIE / หลักการเบื้องต้นวิธีการสอนที่ได้ผลของมาซาโน/ การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง/ การเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ด้วยแบบจำลอง John Biggs’ 3-P Model สำหรับผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) จะสอดคล้องกับคำถามข้อที่ 4 ของ Tyler ที่ว่า ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร โดยจะมีทั้งการประเมินทั้งระบบหลักสูตร และประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาประเด็นต่างๆ เพื่อนำมาร่วมใช้ในการประเมินหลักสูตรทั้งในเรื่องของ แนวคิดการประเมินหลักสูตร/ แบบประเมินหลักสูตรCIPP/ การประเมินการเรียนรู้ตามหลักสูตร CBA/ การกำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้โดยใช้ SOLO Taxonomy  สำหรับผลลัพธ์ของขั้นการประเมินในมิติด้านการเรียนการสอนคือ แผนการประเมินหลักสูตร


สรุปจากที่มา
สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). คณะศึกษาศาสตร์    




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...