วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คำถามท้ายบทที่ ๗


คำถามท้ายบทที่ ๗
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
มนุษย์ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานและกระทำการใด ๆ ตามความรู้ ความเชื่อ และแนวคิดของตนเอง  ดังนั้น การที่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะกระทำการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความรู้และแนวคิดที่มีเหตุผลและความถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
ความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
ในอดีตสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายตามหลักสูตรกลางที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้เท่านั้น ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป มีการกระจายอำนาจและมอบหมายให้สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น จึงมีผู้นำแนวความคิดนี้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อให้บังเกิดผลในการปฏิบัติ ดังข้อความในวรรคสอง มาตรา 27 ที่ว่า ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
นักวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญ จึงบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับแนวคิดในการสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรเองไว้มากมาย เช่น การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based curriculum development) การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นหลัก (School-focused curriculum development) พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะมอบอำนาจการตัดสินใจและการบริหารจัดการให้แก่ครูใหญ่หรือผู้บริหารโรงเรียน โดยบัญญัติศัพท์เรียกแนวความคิดนี้ว่า การบริหารจัดการที่ยึดแหล่งปฏิบัติการเป็นฐาน (Site-based Management) หรือการบริหารจัดการที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) เป็นต้น
สเตอร์แมน (Sturman, 1989) ได้สรุปถึงประโยชน์หรือข้อดีของการกระจายอำนาจทั้งการบริหารจัดการและการพัฒนาหลักสูตรไปสู่สถานศึกษาไว้ดังนี้
1.      มีความสามารถที่จะตัดสินใจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของท้องถิ่นได้ดีขึ้น
2.      มีศักยภาพที่จะสร้างความกระตือรือร้นระหว่างผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3.     มีศักยภาพที่จะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ดีขึ้น โดยชักจูงการดึงให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการตัดสินใจมากขึ้น
4.      มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมมากขึ้น
5.      มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากขึ้น หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้โครงสร้างการทำงานแบบเดิมลง
6.      มีศักยภาพในการนำทรัพยากรของรัฐมาใช้ เพื่อให้เกิดการตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมมากขึ้น
7.      ลดความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
8.      เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ด้อยโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม
9.      ส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นวัตถุวิสัย
 ประโยชน์อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่สถานศึกษาได้จัดทำหลักสูตรขึ้นใช้เอง ก็คือสามารถสนองความต้องการ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง แม้หลักสูตรกลางจะกำหนดเป็นหลักการไว้ว่า “เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง” (กระทรวงศึกษาธิการ 2533: 1) แต่ก็มักจะไม่ค่อยบรรลุเจตนารมณ์ที่วางไว้แม้ในอดีตและปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะโดยข้อเท็จจริง สภาพโรงเรียนและธรรมชาติของผู้เรียนในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างและความหลากหลายค่อนข้างสูง เนื้อหาสาระและรายวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดจากส่วนกลางไม่สามารถสนองความต้องการเฉพาะดังกล่าวของโรงเรียนได้ การส่งเสริมให้โรงเรียนกำหนดรายละเอียดของ หรือหลักสูตรแกนกลางหลักสูตรในบางรายวิชาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นทางออกที่จะแก้ปัญหาความจำกัดของความหลากหลายของหลักสูตรได้
วิธีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ทาบา (Taba, 1962) ได้กำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียนออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทของประเทศไทย ดังนี้
1. การผลิตหน่วยการเรียนการสอนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะนำร่องกระบวนการจัดทำหลักสูตรในลักษณะหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา มีกิจกรรมดำเนินการ 8 ประการ ดังนี้
 1.1 การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
1.2 การกำหนดจุดหมาย
1.3 การเลือกเนื้อหา
1.4 การจัดเนื้อหา 
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 
1.6 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.7 การกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินและวิธีการในการประเมิน 
1.8  การตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน 
 2.  การนำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนไปทดลองใช้  เมื่อคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดทำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรในรูปของสื่อหรือบทเรียนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว  คณะครูก็จะนำเอกสารหลักสูตรเหล่านั้นไปทดลองสอนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ มีการสังเกต  วิเคราะห์และเก็บรวบรวมผลการใช้หลักสูตรและการจัดกิจการรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสต่อไป
3.  การปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้สอดคล้องกัน  ในขั้นตอนนี้จะต้องปรับหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง  โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างความสามารถของผู้เรียนกับทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่และกับพฤติกรรมการสอนของครู  มีการรวบรวมข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลองไว้ในคู่มือครู  เพื่อจะใช้เป็นข้อสังเกตและแนวทางที่จะช่วยให้ครูได้จัดกิจกรรม การสอนอย่างรอบคอบ
 4.  การพัฒนากรอบงาน  ภายหลังจากจัดทำบทเรียนหรือหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ จำนวนหนึ่งแล้ว            ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตรวจสอบหลักสูตรและสื่อในแต่ละหน่วยหรือแต่ละรายวิชา ในประเด็นของความเหมาะสมและความเพียงพอของขอบข่ายเนื้อหา และความเหมาะสมของการจัดลำดับเนื้อหา  ครูหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรจะต้องรับผิดชอบจัดทำหลักการและเหตุผลของหลักสูตรโดยดำเนินการผ่านกระบวนการการพัฒนากรอบงาน
 5.  การนำหลักสูตรไปใช้และเผยแพร่  เพื่อให้ครูที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรไปใช้จริงในระดับห้องเรียนอย่างได้ผล  จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องจัดฝึกอบรมครูประจำการอย่างเหมาะสม
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมามีลักษณะที่เป็นเชิงวิชาการอยู่มาก  ดังนั้นเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรในสถานการณ์จริงผู้รับผิดชอบสามารถปรับปรุงกิจกรรมและขั้นตอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา  สภาพท้องถิ่นและเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในเวลาปฏิบัติงาน  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถปรึกษาหารือกับผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้



 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติ ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก ไม่ว่าจะหลักสูตรใดก็ตาม หากนำไปใช้แล้วพบว่ามีข้อจำกัดบางประการก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลังการนำไปใช้ระยะหนึ่ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีปัญหาบางประการ เช่น ด้านตัวชี้วัดหรือคุณลักษณะความรู้ความสามารถของผู้เรียนภายหลังจากเรียนจบ แต่ละช่วงชั้นแล้วยังขาดความชัดเจน อีกทั้งครูผู้สอนโดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จำนวนมากไม่สามารถ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามที่หลัก สูตรกำหนดไว้ได้
หลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและ จัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 1 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขต พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีสวนรวมในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มวิสัยทัศน์ หลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและปรับจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้สถานศึกษาจัดทำวิสัยทัศน์ของหลักสูตรในระดับสถานศึกษา แต่ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ในระดับชาติ ทำให้เป้าหมายทิศทางของการจัดการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพ ในการปรับปรุงจึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรในระดับชาติขึ้นเพื่อให้เป็น เป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาชนของชาติ ดังนี้
"หลัก สูตรแกกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ"
โดยมี จุดมุ่งหมายพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย การมีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิม ไมมีการกล่าวถึงสมรรถนะ หลักสูตรใหม เพิ่มสมรรถนะสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๕ ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดการแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี โดยครูผู้สอนต้องปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ปรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรเดิมไม่มีการกล่าวถึง หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไดอย่างมีความ สุข ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย รักชาติ ศาสนา กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต,มีวินัย, ใฝ่เรียนรู, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งในการทํางาน รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะสถานศึกษาสามารถกําหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมไดโดยมุ่ง พัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็น พลเมืองไทยและพลโลก คือ รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ
4. ปรับตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี ระบุ สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู ปฏิบัติได รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนใน แตละระดับชั้นตัวชี้วัดนําไปใช้ในการกําหนดเนื้อหา จัดทําหน่วยการเรียนรู้การจัดการสอนเป็นเกณฑ์สําคัญสําหรับวัดผลเพื่อตรวจ สอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1 -ม.3 ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.6
โดยการ กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา เพราะเดิมมีการกำหนดมาตรฐานช่วงชั้นกว้าง ๆ แล้วให้โรงเรียนกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละปีเอง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีความแตกต่างระหว่างหลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่ง เป็นอย่างมาก
5. การกำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล โดยคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดหลักสูตรใหม่มี 8 กลุ่มสาระ และ 67 มาตรฐาน
6. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ เส ริมให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยสร้างจิตสํานึก อยู่ร่วมกับผู้อื่นไดอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรม แนะแนว เป็นกิจกรรมที่สงเสริมและพัฒนาผูเรียนกิจกรรมนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัย เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี เช่น ลูกเสือ เนตรนารียุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุมหรือชมรมกิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ เช่นกิจกรรมอาสาพัฒนาต่างๆ
7. เวลาเรียน ป.1-ป.6 จัดการเรียนเป็นรายปี เรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง กําหนดให้กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนทั้ง 3 กิจกรรมในชั้นปี. 1-ม.3 ปละ 120 ชั่วโมง และกําหนดให้สถานศึกษาจัดสรรเวลากิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณะประโยชน ในขั้น ป.1-ป.6 รวม 60 ชั่วโมง(ปละ 10 ชั่วโมง)การจัดการเรียน รู้เป็นกระบวนการสําคัญนําหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติผู้สอนต้องพยายามคัดสรร การเรียนรูโดยช่วยให้ ผู้เรียนเรียนผ่านสาระที่กําหนดไว้ในหลักสูตรประกอบด้วย
        1. หลักการจัดการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนสําคัญที่สุด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และการพัฒนาสมองเน้นให้ความรูและคุณธรรม
        2. กระบวนการเรียนรู ในการจัดการผู้เรียนควรไดรับการฝึกฝนพัฒนา ผู้สอนต้องทําความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถเลือกใช้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ
        3. การออกแบบการจัดการเรียนรูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ แล้วพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
8. การวัดและประเมินผลการเรียนรูตั้งอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ประเมินเพื่อพัฒนาผูเรียน และตัดสินผลการเรียนการประเมินตามตัวชี้วัดจะสะทอนสมรรถนะผู้เรียน การประเมินมี 4 ระดับ คือ ชั้นเรียนสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและชาติการประเมินในชั้นเรียนจะประเมินโดยครู ผู้เรียน เพื่อน หรือผู้ปกครองก็ได้ต้องใช้เทคนิคประสบการณหลากหลายและสม่ำเสมอ เชน การซักถาม การสังเกต การตรวจการ บ้านการใช้แบบทดสอบ ฯลฯ
9. เกณฑ์การวัดและการประเมินผลการเรียนผู้สอนต้องคํานึงถึงการพัฒนาผูเรียนแต่ละคน เก็บข้อมูลสม่ำเสมอและต่อเนื่องระดับประถมศึกษาผูเรียนต้องมีเวลาเรียน ไมน้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดผู้เรียนต้องไดรับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนดผู้เรียน ต้องไดรับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาผูเรียนต้องไดรับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการตัดสินผลจะให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือร้อยละก็ได
การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ ระดับ ดีเยี่ยม ดี และ ผ่านการประเมินกิจกรรมและพัฒนาผู้เรียน ผ่านไมผ่านการรายงานผลการเรียน ต้องรายงานให้ ผู้ปกครองทราบ เป็นระยะๆ อย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง










2.การศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก วิชัยวงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนการทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ : บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์จำกัด 2552
ตอบ  หลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา
1. หลักสูตรแกนกลาง หมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีรายละเอียดแสดงให้เห็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งสำหรับการจัดการศึกษาทุกกลุ่ม เช่น การศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
2. หลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง หลักสูตรระดับท้องถิ่นซึ่งสถานศึกษานำข้อมูลสภาพที่เป็นปัญหาหรือความต้องการในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพังประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาจัดทำสาระของหลักสูตร และจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบหรือแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่มเพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ  มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น
เป้าหมาย
เป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ประกอบด้วยตัวชี้วัดดังนี้
1. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
2. สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน
มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มขึ้นตามความสามารถความถนัด และความสนใจของผู้เรียนให้สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่บ่งบอกถึงระดับคุณภาพที่คาดหวังจะให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากได้ผ่านกระบวน การเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษา หรือแต่ละภาคเรียน
5. สาระการเรียนรู้ หมายถึง ที่องค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
6. สาระการเรียนรู้แกนกลาง หมายถึง รายละเอียดที่เป็นองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้สถานศึกษาเทียบเคียง ตรวจสอบ และปรับใช้กับสาระการเรียนรู้พื้นฐานที่การศึกษากำหนด
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้เรียนตามจุดเน้นของหลักสูตร และหรือ ตามนโยบายของสังคมระดับประเทศประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาด้านคุณภาพ จริยธรรม และค่านิยม
2. กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการพัฒนาไว้ชัดเจนทุกช่วงชั้น
3. กำหนดตัวบ่งชี้ในการพัฒนาที่นำไปปฏิบัติได้จริง
4. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบการประเมินไว้ชัดเจน
5. มีการกำหนดวิธีการประเมิน
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นการแสดงให้เห็นถึงมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรที่ผู้เรียนได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นๆ โดยแบ่งเป็นช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ) ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) ช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 ) ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -6 ) ในแต่ละช่วงชั้นแสดงให้เห็นสาระการเรียนรู้ทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งกำหนดสัดส่วนเวลาหรือหน่วยคิดของแต่ละสาระการเรียนรู้เป็นรายปี / รายภาค หรือรายสัปดาห์ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้
1. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
2. สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
3. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างสาระการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม
4. มีการกำหนดสัดส่วนเวลาระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเหมาะสม
5. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
6. มีหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการกับวิถีชีวิตของผู้เรียน
7. มีรายวิชาพื้นฐาน/ หน่วยการเรียนรู้ครบตามกำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8. มีรายวิชาเพิ่ม / หน่วยการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
9. รายวิชาพื้นฐาน / หน่วยการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

เพิ่มเติมข้อมูลการเสนอร่างหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุง)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณา ซึ่งร่างหลักสูตรนี้ ยังคงจัดโครงสร้างหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ สาระวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
สำหรับเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็นรายปี จากที่เคยกำหนดเป็นตัวชี้วัดช่วงชั้น และเขียนตัวชี้วัดให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ที่สำคัญมีการกำหนดกรอบการจัดสรรเวลาเรียนสำหรับแต่ละระดับชั้น ด้วย โดยระดับประถมศึกษาให้มีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-5 ชั่วโมง ระดับม.ต้น วันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง ระดับ ม.ปลาย ไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง
อีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มวิชา โดย กลุ่มวิชาภาษาไทยและ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 200 ชั่วโมง ชั้น ป.4-ป.6 ปีละ 160 ชั่วโมง ม.ต้น ปีละ 120 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาให้มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าปีละ 80 ชั่วโมง ในระดับ ป.1 – ป.6 ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาสุขศึกษาฯ ,การงานฯ และศิลปะ ระดับ ป.1 - ม.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 80 ชั่วโมง ส่วน ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ป.1 – ป.3 ให้มีเวลาเรียนขั้นต่ำปีละ 40 ชั่วโมง ป.4-ป.6 .ปีละ 80 ชั่วโมง ม.ต้นปีละ 120 ชั่วโมง ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง นอกจากนั้นให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมงด้วย
อย่างไรก็ดี ได้มอบให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาและรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นให้เหมาะสมทั้งหมด ระดับประถมศึกษา จะมีเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชาไม่เกินปีละ 1,000 ชั่วโมงต่อวิชา ม.ต้น ไม่เกินปีละ 1,200 ชั่วโมงต่อวิชา และ ม.ปลาย รวม 3 ปี ต้องมีเวลาเรียนไม่เกิน 3,600 ชั่วโมงในแต่ละวิชา
นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กล่าวว่า กรรมการ กพฐ.ได้รับร่างหลักสูตร ไปพิจารณาแล้ว โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดที่ปรับใหม่นั้น ควรจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่สร้างกระบวนการคิดให้กับเด็ก ไม่ต้องการให้ตัวชี้วัดไปส่งเสริมการเรียนแบบเน้นเนื้อหา เพราะความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเด็กรู้จกกกระบวนการเรียนรู้แล้ว จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีการจัดกรอบเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา เพราะหลักสูตรเดิมให้โรงเรียนจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชา ผลทำให้การจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่ ร.ร.จะจัดเวลาเรียนให้วิชาใดมากหรือน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับครูที่ตัวเองมี เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในการจัดสรรเวลาเรียนแต่ละวิชาไว้
อย่างไรก็ตาม หลักจากได้ข้อสรุปแล้ว ทาง สพฐ.จะนำร่างหลักสูตรฯ ไปจัดประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็นใน 4 ภูมิภาค แล้วนำความเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณา รวมทั้งความเห็นของ กพฐ. มาปรับปรุง ร่าง หลักสูตรฯ อีกครั้ง ก่อนนำหลักสูตรไปใช้จริง--




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...