รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ในเรื่องรูปแบบของการประเมินหลักสูตร
มีนักวิชาการซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและการประเมินผลเสนอแนะหลายรูปแบบด้วยกันซึ่งสามารถนำมาศึกษาเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ
ในปัจจุบันรูปแบบของการประเมินหลักสูตรสามรถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบของการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ
เป็นการประเมินผลก่อนนำหลักสูตร ไปใช้
กลุ่มนี้จะเสนอรูปแบบที่เด่นๆ คือ
รูปแบบการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบ ปุยแชงค์ (Puissance
Analysis Technique)
2.
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลังการใช้หลักสูตรสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ
ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1
รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก (Goal
Attainment Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่จะประเมินว่าหลักสูตรมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายเป็นหลัก
กล่าวคือพิจารณาว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ เช่น
รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) และรูปแบบการประเมินหลักสูตรของแฮมมอนด์
(Rabert L. Hammond)
2.2
รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ไม่ยึดเป้าหมาย (Goal Free
Evaluation Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่ไม่นำความคิดของผู้ประเมินเป็นตัวกำหนดความคิดในโครงการประเมินผู้ประเมินจะประเมินเหตุการณ์ที่เกิดตามสภาพความเป็นจริง
มีความเป็นอิสระในการประเมินและ
ไม่ต้องมีความลำเอียง เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสคริฟเวน (Michael
Scriven)
2.3
รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก (Criterion
Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์เป็นหลัก
เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (Robert E. Stake)
2.4
รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision-Mzking
Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการทำงานอย่างมีระบบเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ
เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
รูปแบบการประเมินของโพรวัส(Malcolm Provus) รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม(Daniel
L. Stufflebeam) และรูปแบบการประเมินหลักสูตรของดอริสโกว์ (Doris
T. Gow) เป็นต้น
การประเมินหลักสูตรมีขอบเขตต่างๆ
ที่จะต้องทำการประเมินกว้างขวางมาก
ดังนั้นวิธีการประเมินหลักสูตรจึงต้องได้รับการวิเคราะห์และออกแบบให้สามารถที่จะประเมินได้ครบถ้วนในขอบข่ายสาระทั้งหมด
รูปแบบต่างๆ ที่จะใช้ประเมินผลมีหลายรูปแบบ
ผู้มีหน้าที่ในการประเมินผลจำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจให้กระจ่างชัด
และจะต้องนำรูปแบบต่างๆ
ไปใช้อย่างถูกต้องตรงตามจุดหมายและลักษณะของขอบข่ายสาระแต่ละอย่าง
ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าการประเมินผลขอบข่ายสาระทั้งหมดของหลักสูตรจำเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีหรือหลายๆ
รูปแบบจึงจะได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่นในการที่จะนำไปพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณค่าเหมาะสมกับความต้องการของสังคม
รูปแบบการประเมินมีดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น