วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค


รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (The Stakes Congruence Contingency Model)
              รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตคเป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลักสูตร สเตคได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่า เป็นการบรรยายและการตัดสินคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมิน โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินคุณค่า สเตคมีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินผลหลักสูตรโดยการประเมิน ดังนั้น สเตคจึงเสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพื่อประเมินผลหลักสูตร 3 ด้าน คือ
              1. ด้านสิ่งที่มาก่อน หรือสภาพก่อนเริ่มโครงการ (Antecedent) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดผลจากหลักสูตรและเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนการใช้หลักสูตรอยู่แล้วประกอบด้วย 7 หัวข้อ คือ บุคลิกและนิสัยของนักเรียน บุคลิกและนิสัยครู
              2. ด้านเนื้อหาในหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน อาคารสถานที่ การจัดโรงเรียน ลักษณะของชุมชนขณะที่มีการเรียนการสอนระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู ครูกับผู้ปกครอง ฯลฯ เป็นขั้นของการใช้หลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ คือ การสื่อสาร การจัดแบ่งเวลา การลำดับเหตุการณ์ การให้กำลังใจ และบรรยากาศของสิ่งแวดล้อม
              3. ด้านผลผลิต หรือผลที่ได้รับจากโครงการ (Outcomes) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 5 หัวข้อ คือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ทัศนคติของนักเรียน ทักษะของนักเรียน     ผลที่เกิดขึ้นกับครู และผลที่เกิดขึ้นกับสถาบันซึ่งรูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตคแสดงให้เห็นเป็นตาราง 3 ดังนี้
ตาราง 3 วิเคราะห์หลักสูตรของสเตค


เกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตร
ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์หลักสูตร
ข้อมูลเชิงบรรยาย
ข้อมูลเชิงตัดสิน
ผลที่คาดหวัง
ผลที่เกิดขึ้น
มาตรฐานที่ใช้
การตัดสินใจ
1. สภาพก่อนเริ่มโครงการ
 - บุคลิกและนิสัยของนักเรียน
 - บุคลิกและนิสัยของครู
 - เนื้อหาในหลักสูตร
 - อุปกรณ์การเรียนการสอน
 - บริเวณโรงเรียน
 - ชุมชน
2. กระบวนการในการเรียน
 - การสื่อสาร
 - เวลาที่จัดให้
 - ลำดับของเหตุการณ์
 - การให้กำลังใจ
 - สภาพสังคมหรือบรรยากาศ
3. ผลที่ได้รับจากโครงการ
 - ความสำเร็จของนักเรียน
 - ทัศนคติของนักเรียน
 - ทักษะของนักเรียน
 - ผลที่ครูได้รับ
 - ผลที่สถาบันได้รับ
             
              จากแบบตัวอย่างของสเตคนี้จะเห็นว่าขั้นตอนในการประเมินผลหลักสูตรจะเป็นดังนี้  คือ
              1. การตั้งเกณฑ์ในการวิเคราะห์หลักสูตร
              สเตคได้เสนอหัวข้อของเกณฑ์ที่จะใช้ในการวิเคราะห์หลักสูตรได้ 3หัวข้อ คือ เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่มีมาก่อนกระบวนการในการสอน  และผลที่เกิดขึ้น  เขาให้ความคิดเห็นว่าการประเมินจากผลที่ได้รับนั้นยังไม่พอที่จะประเมินว่าหลักสูตรนั้นดีหรือไม่เพียงใดเพราะผลที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอีกหลายอย่างเป็นต้นว่า  หากผู้เรียนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็มิได้หมายความว่าหลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ไม่ดี  การที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียนได้ตามที่ต้องการ  อาจมาจากองค์ประกอบทางด้านเวลา  เช่น  ให้เวลาแก่ผู้เรียนน้อยไปเวลาที่จัดให้ไม่เหมาะสม
              ดังนั้น  การที่จะช่วยดูแต่ผลที่ได้รับและนำมาประเมินค่าหลักสูตรนั้นเป็นการไม่เพียงพอและอาจจะไม่สามารถช่วยชี้ช่องทางการปรับปรุงหลักสูตรนั้นแต่อย่างใด  ด้วยเหตุนี้  สเตคจึงได้เสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพื่อประเมินผลหลักสูตรถึง  3 ด้านดังที่กล่าวมาแล้ว
           

   2. การหาข้อมูลมาประกอบ
              หลังจากที่ได้ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประเมินผลหลักสูตรแล้วผู้ประเมินผลหลักสูตรจะต้องทำการเก็บรวบรวม  ข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาตามแบบตัวอย่างของสเตคแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
              1. ส่วนที่เป็นการบรรยายหรือเรียกว่า “ข้อมูลเชิงบรรยาย” (Descriptive Data) ประกอบด้วยข้อมูล 2 ชนิด คือ
                   1.ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตรเกี่ยวกับสิ่งที่มาก่อนกระบวนการเรียน        การสอน และผลผลิตของหลักสูตร
                   1.ข้อมูลที่อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงซึ่งสังเกตได้หรือทดสอบได้เกี่ยวกับสิ่งที่มีก่อนกระบวนการเรียนการสอน ผลผลิตของหลักสูตร
              ผู้ประเมินจะต้องอธิบายความสัมพันธ์ (Contingency) ระหว่างสิ่งที่มาก่อน (Antecedents)  กระบวนการเรียนการสอน  (Transactions)  และผลผลิต  (Outcomes)  ของหลักสูตรและการศึกษาความสอดคล้อง  (Congruence)  ระหว่างสิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อย่างไรจากการพิจารณาข้อมูลในลักษณะแนวตั้งและแนวนอนนี้  สรุปเป็นแผนภูมิเกี่ยวกับการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์และความสอดคล้องของหลักสูตร
              2. ส่วนที่เป็นการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตร หรือที่เรียกว่า “ข้อมูลเชิงตัดสิน” (Judgemental  Data)  ประกอบด้วยข้อมูล  2  ชนิด  คือ
              2.ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Standards) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เช่นครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ฯลฯ เชื่อว่าควรจะใช้
               2.ข้อมูลที่เป็นการตัดสินของบุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกนึกคิดตัดสินคุณภาพและความเหมาะสมของบุคคลต่างๆ ผู้ประเมินจะต้องตัดสินคูณค่าของหลักสูตรโดยใช้ข้อมูลที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานและข้อมูลที่เป็นการตัดสินของบุคคลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาตัดสินว่าหลักสูตรมีส่วนใดดีหรือส่วนใดไม่ดี
              3. วิธีการใช้ตารางในการประเมินผลของหลักสูตร
              เริ่มต้นด้วยการพิจารณาข้อมูลทั้ง 4 หมวด ตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น เช่น จากตารางแบบตัวอย่างของ สเตค จะเริ่มที่ข้อ ก. ด้านสิ่งที่มีมาก่อนข้อ ก.1 บุคลิกและนิสัยของนักเรียน เราก็จะพิจารณาว่าผลที่คาดหวังหรือวัตถุประสงค์ในด้านนี้คืออะไร และนำมาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นว่าตรงหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด และผลที่เกิดขึ้นนั้นใช้มาตรฐานอะไรวัดและถืออะไรเป็นหลักในการตัดสินยกตัวอย่าง เช่น ในเรื่องของบุคลิกและนิสัยของนักเรียน
              ผลที่คาดหวัง : ต้องการนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำกล้าซักถามโต้ตอบและโต้แย้ง
              ผลที่เกิดขึ้น : ได้นักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำประมาณ 20% และได้นักเรียนที่มีลักษณะความเป็นผู้นำตาม 80%
              มาตรฐานที่ใช้ : ควรและนักบริหารการศึกษาเห็นว่านักเรียน 100% ควรมีทั้งลักษณะความเป็นผู้นำและผู้ตามอยู่ในตัว
              ที่มาของหลักสูตรการตัดสิน : สังคมประชาธิปไตย
              จากการเปรียบเทียบเกณฑ์ข้อมูลในหมวดต่างๆ  ในลักษณะข้างต้น  ผู้ประเมินจะสามารถเห็นว่าหลักสูตรนั้นมีความสอดคล้องกันหรือไม่ในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
              นอกจากนั้นการพิจารณาข้อมูลตามแนวตั้ง ผู้ประเมินนั้นจะพบว่าหลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์ในตัวกันหรือไม่  ตัวอย่างเช่น  ในเรื่องบุคลิกและนิสัยของนักเรียน

              ในลักษณะเช่นนี้  การเปรียบเทียบข้อมูลตามแนวตั้งของหลักลูกศร  ผู้ประเมินหลักสูตรจะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าการจัดการทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสิ่งที่มีมาก่อน กระบวนการในการสอน และผลที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันถูกต้องหรือไม่
              การวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องกับความสัมพันธ์กันของหลักสูตรนี้จะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่างๆ  ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงหลักสูตรเป็นอันมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...