วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

การศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนา



๑.การศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนา
          การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องนี้นำสังคม ผู้ได้รับการศึกษาจงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการสอน เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยอาศัยระบบที่มีขั้นตอนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          การศึกษา (Education) เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้ การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากรการศึกษา เป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้
ที่คำว่า " การศึกษา " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า " การเล่าเรียน การฝึกอบรม " เป็นคำที่ใช้ในความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Education" ซึ่ง คาร์เตอร์ วี. กูด ( Good. 1973 : 202 ) ได้ให้ความหมายไว้ในพจนานุกรมศัพท์การศึกษา 4 ประการ โดยสรุป คือ
                1. การศึกษา หมายถึง การดำเนินการด้วยกระบวนการทุกอย่าง ที่ทำให้บุคคลพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ รวมทั้งทัศนคติและพฤติกรรมอื่นๆ ตามค่านิยมและคุณธรรมในสังคม
                2. การศึกษา หมายถึง กระบวนการทางสังคม ที่ทำให้บุคคลได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ที่คัดเลือกและกำหนดไว้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะโรงเรียน เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม
                3. การศึกษา หมายถึงวิชาชีพอย่างหนึ่งสำหรับครู หรือการเตรียมบุคคลให้เป็นครู ซึ่งจัดสอนในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย วิชาจิตวิทยาการศึกษา ปรัชญา ประวัติการศึกษา หลักสูตร หลักการสอน การวัดผล การบริหาร การนิเทศการศึกษา และวิชาอื่นๆ ที่ครูควรรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญงอกงามสำหรับครู
                4. การศึกษา หมายถึง ศิลปในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ในอดีต ซึ่งรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบสำหรับคนรุ่นใหม่
นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาอีกจำนวนมาก ที่ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ตามแนวคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละคน เช่น
- การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
- การศึกษา คือ ชีวิต และชีวิตคือการศึกษา
- การศึกษา คือ การพัฒนาคน
- การศึกษา คือ การเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะและเจตคติ
- การศึกษา คือ การแก้ปัญหาของมนุษย์ให้หลุดพ้น และเข้าถึงสิ่งดีงาม
- การศึกษา คือ การถ่ายทอดแนวคิด ความเชื่อ พฤติกรรม ศิลปวัฒนธรรม
- การศึกษา คือ การเตรียมตัวสำหรับการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์
" การศึกษา" ตามความหมายที่ถูกต้อง คือความหมายที่ตรงกับความหมายของคำในภาษาอังกฤษว่า "Education" ในภาษาไทย บางครั้งคนทั่วไปใช้คำว่าการศึกษาในความหมายที่คาดเคลื่อน คือ นำไปใช้ในความหมายของ คำว่า การเรียนรู้ (Learning) และคำว่า การศึกษาค้นคว้า (Study) ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือทางไม่ดีก็ได้ แต่คำว่า "การศึกษา" หมายถึงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดีและสังคมยอมรับเท่านั้น ส่วนคำว่า "การศึกษาค้นคว้า" หมายถึงการเสาะแสวงหรือค้นหาความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาในอดีตถือว่า การศึกษาเกิดขึ้นได้เฉพาะในสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น การศึกษาเริ่มต้นเมื่อเข้าโรงเรียนตามอายุที่กำหนด และสิ้นสุดการศึกษาเมื่อออกจากโรงเรียน ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงการเข้าเรียนนั้นสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ผู้ที่เรียนหนังสือในโรงเรียนเป็นเวลานาน จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง ส่วนคนที่เรียนในโรงเรียนในเพียงระยะสั้น หรือไม่เคยเข้าโรงเรียนเลยก็ได้ชื่อว่าเป็นคนการศึกษาต่ำหรือไร้การศึกษา สถานศึกษาจึงกลายเป็นเครื่องมืออันหนึ่ง ในการแบ่งแยกชนชั้น ซึ่งความคิดเช่นนี้ ในปัจจุบันไม่อาจใช้ได้ ทั้งนี้เพราะสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนสามารถรับการศึกษาได้จากหลายทาง ความรู้และประสบการณ์ที่เคยได้รับจากการศึกษาในโรง เรียน สามารถนำไปใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปความรู้เดิมอาจไม่สามารถใช้ได้ จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มอยู่ตลอดเวลา ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ตั้งแต่ก่อนวัยเข้าโรงเรียนหรือผ่านพ้นวัยที่จะต้องศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการศึกษาอยู่เสมอ


รูปแบบของการศึกษา
                ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของการศึกษา ตอนหนึ่งว่า " สังคมปัจจุปันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society) หมายถึงการที่บุคคลจะดำรงตนอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบันได้อย่างมีความสุข บุคคลจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ วิทยาการที่ก้าวหน้า เป็นปัจจัยเกื้อกูลการดำเนินชีวิต สมาชิกของสังคมที่ใฝ่ความก้าวหน้า ให้จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เทคโนโลยีสมัยใหม่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ในอันที่จะเกื้อกูลกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต ยุคนี้จึงเป็นยุคของการผสมผสานระหว่างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งเทคโนโลยีควบคู่กันไป สถาบันทางสังคมต่างๆ นอกเหนือจากสถานศึกษาที่มีอยู่ ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการให้การศึกษาในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ บ้าน วัด หน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายประเภทรวมทั้งสถาบันสื่อมวลชน ได้รับการกระตุ้นให้มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพของประชากรมากยิ่งขึ้น เกิดแนวการการศึกษาตามลักษณะการเรียนรู้ของบุคคล เป็น 3 แนว คือ
การศึกษาในโรงเรียน(Formal Education )
การศึกษานอกโรงเรียน( Non-Formal หรือ Out of School Education) และ
การศึกษาตามอัธยาศัย(Informal Education) ซึ่งเป็นวิธีการจัดการศึกษาแนวใหม่ที่กล่าวขวัญถึงกันอยู่เสมอในปัจจุบัน"
          การศึกษาในรูปแบบต่างๆ มีความหมายและขอบข่ายดังนี้
การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) หมายถึงการศึกษาในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย เป็นแบบของการจัดการศึกษาที่รู้จักกันโดยทั่วไป เป็นการจัดการศึกษาที่มีระเบียบแบบแผนเป็นมาตรฐานแน่นนอน ในเรื่องของหลักสูตร การประเมินผล ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ จัดขั้นตอนการศึกษาเป็นระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
ระดับปฐมวัย
ระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาให้เด็กก่อนวัยที่ต้องศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเป็นการวางรากฐานชีวิตเพื่อปูพื้นฐานที่ดีก่อนการเรียนในระดับต่อไป โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เข้าศึกษาในระดับนี้มักมีอายุตั้งแต่ 4 - 8 ปี การเรียนการสอนในระดับนี้จะเน้นการสอนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเน้นในด้านการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก นอกจากนี้ยังเน้นให้เด็กเรียนรู้ทักษะต่างๆผ่านกิจกรรมการเล่นและกิจกรรมเกมส์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งการใช้เกมส์และการเล่นถือได้ว่าเป็นวิธีการหลักสำหรับสอนเด็กในระดับปฐมวัย โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยจะมีจุดเน้นทั้งสิ้น 2 ด้านคือ ด้านประสบการณ์สำคัญ ประกอบไปด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา อีกด้านหนึ่งคือสาระที่ควรเรียนรู้ ประกอบไปด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่รอบตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ระดับประถมศึกษา
ประถมศึกษาเป็นการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยทั่วไปแล้วการศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีระยะเวลาในการเรียนประมาณ 5 - 8 ปี ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยมีจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี ตั้งแต่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามักจะมีอายุประมาณ 6-7 ปี โดยในปัจจุบันนี้ยังมีเด็กกว่า 61 ล้านคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่ง 47% ในจำนวนนี้จะหมดโอกาสการเข้าศึกษาต่ออย่างสิ้นเชิง[5] อย่างไรก็ตาม UNESCO ได้พยายามสนับสนุนให้เกิดการศึกษาสำหรับทุกคน โดยได้ดำเนินการที่เรียกว่าการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งทุกประเทศจะต้องประสบความสำเร็จในด้านจำนวนคนเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาตามประกาศของ UNESCO ภายในปี พ.ศ. 2558 หลังจากนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาแล้วจะสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มักจะมีอายุประมาณ 11 - 13 ปี
ระดับมัธยมศึกษา
มัธยมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่จบในระดับประถมศึกษามาแล้ว สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษามักจะมีอายุประมาณ 11 - 18 ปี สำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะกระบวนการเฉพาะด้าน เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาระดับสูงต่อไป สำหรับประเทศโดยส่วนใหญ่แล้วการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาถือได้ว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับประเทศไทย นักเรียนจะต้องจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงจะถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างไรก็ตามหลังจากจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว นักเรียนสามารถเลือกที่จะหยุดเรียนแล้วออกไปประกอบอาชีพ หรือ เรียนต่อก็ได้ ในกรณีที่เรียนต่อจะมี 2 ระบบให้เลือกเรียน ระหว่างสายสามัญ ซึ่งเป็นการเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ ซึ่งจะสอนเกี่ยวกับอาชีพทางด้านต่างๆ เช่น งานช่าง และเกษตรกรรม เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้รัฐบาลไทยจะเป็นผู้ดำเนินการทางด้านค่าใช้จ่ายทั่วไปจนจบระดับชั้นมัธยมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา
อาชีวศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมคนสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งในด้านของงานช่างฝีมือ งานธุรกิจ งานวิศวกรรม และงานบัญชี โดยเป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้จริงๆ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เน้นให้มีความรู้พื้นฐานมากเพียงพอสำหรับศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การศึกษาในระดับอาชีวศึกษาจะเน้นให้มีการฝึกงาน เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนในสายอาชีพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 โดยในสมัยนั้นเน้นจัดการเรียนการสอนทางด้าน แพทย์ ผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ พาณิชยการ และครู
ระดับอุดมศึกษา
การศึกษาในระดับอุดมศึกษา (tertiary, third stage,post secondary education) เป็นการศึกษาที่ไม่ได้บังคับว่าต้องจบการศึกษาในระดับนี้ การศึกษาในระดับนี้เป็นการศึกษาที่สูงขึ้นมาจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นแบ่งได้ออกเป็น 2 ระดับคือระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการ หากผู้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเรียนจบแล้วจะได้รับปริญญาบัตรเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการผ่านหลักสูตรนั้นๆ
การที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้นั้นจำเป็นต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อก่อน ส่งผลให้วิธีการนี้ทำให้มีทั้งผู้ที่ได้สิทธิ์ศึกษาต่อและผู้ที่ไม่ได้สิทธิ์ศึกษาต่อ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีความสำคัญมากในการสมัครงาน เพราะมักมีการกำหนดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการพัฒนากำลังคนในการพัฒนาประเทศชาติอีกด้วย
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน
                2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) หมายถึงการศึกษาที่จัดให้นอกเหนือจากการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งอาจดำเนินการโดยหน่วยงาน หรือสถาบันต่างๆ ที่ไม่ใช่สถาบันทางการศึกษาตามปกติ แต่อาจใช้สถานที่ของสถาบันการศึกษาก็ได้ ลักษณะการจัดมีทั้งแบบที่จัดอย่างมีระเบียบแบบแผน หรือกึ่งระเบียบแบบแผน โดยทั่วไปมักใช้วิธีดำเนินการที่ไม่แน่นนอนตายตัว เช่น หลักสูตรเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของท้องถิ่น ไม่กำหนดอายุหรือพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนเอาไว้แน่นอน ตัวอย่างของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ ศูนย์ฝึกอาชีพเคลื่อนที่ การจัดที่อ่านหนังสื่อพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เป้าหมายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้ที่ขาดโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน และเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพอยู่แล้ว
                3. การศึกษาแบบปกติวิสัย (Informal Education) หรืออาจเรียกว่า การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึงการศึกษาที่แต่ละบุคคลได้รับจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น จากบุคคลในครอบครัว การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ การเดินทาง เป็นต้น เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นเฉพาะแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ไม่มีการจัดระบบที่เป็นแบบแผนแน่นอน แต่ถือว่าเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญไม่น้อย เพราะในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลย่อมได้รับประสบการณ์ต่างๆ มากมายตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมความรู้ ทักษะ ความเชื่อถือต่างๆ นำไปสู่ความคิดและการตัดสินใจที่ถูกต้อง การศึกษาแบบปกติวิสัย นอกจากที่ได้รับจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันแล้ว สื่อสารมวลชนต่างๆ ก็มีบทบาทอย่างสูงในการทำให้คนได้รับการศึกษาในรูปแบบนี้ด้วย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...