วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตร


การพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า
“ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ
  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
  การทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”

จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม
การออกแบบหลักสูตร
                กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเริ่มต้นจากระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                1. ระบบการร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดหลักสูตร โดยดูความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง หลังจากนั้นเริ่มกำหนดรูปแบบหลักสูตร ได้แก่ การกำหนดหลักการโครงสร้างองค์ประกอบหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียนและการเมินผลหลังจากนั้นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ หรือการสัมมนา และมีการทดลองนำร่อง พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิจัยและปรับแก้หลักสูตรก่อนนำไปใช้
                2. ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย การขออนุมัติหลักสูตรจากหน่วยงานหรือกระทรวงดำเนินการวางแผนการใช้หลักสูตร โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร จัดงบประมาณและวัสดุหลักสูตร บริการสนับสนุนจัดเตรียมอาคารสถานที่ ระบบบริหารและจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และติดตามผลการใช้หลักสูตร หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบการบริหารหลักสูตร โดยการดำเนินการตามแผนกิจกรรมการเรียนการสอนแผนการสอน คู่มือการสอน คู่มือการเรียน เตรียมความพร้อมของผู้สอน ความพร้อมของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียน
                3. ระบบการประเมินผล ประกอบด้วย การวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินรวบยอด การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานข้อมูลตามลำดับ
พื้นฐานในการจัดทำหลักสูตร
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา หมายถึงอุดมคติ อุดมการณ์อันสูงสุดซึ่งยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา มีบทบาทในการเป็นแม่บทเป็นต้นกำเนิดความคิดในการกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา และเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา ช่วยกำหนดหลักการและ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร รวมทั้งสิ่งอื่นที่จะตามมาคือ การเลือกเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลเป็นต้น ปรัชญาการศึกษาต่าง ๆ มีดังนี้
                ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism) ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมเพราะเห็นว่า สิ่งที่นำมาสอนนั้น ดีงาม ถูกต้อง และกลั่นกรองมาดีแล้ว เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น การจัดการเรียนรู้ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน รับรู้และจำ คำนึงถึง เนื้อหาสาระมากกว่าความแตกต่างระหว่างบุคคล วิธีสอนที่ใช้มากคือการบรรยายหรือการพูดของครู ผู้เรียนต้องอยู่ในระเบียบวินัยจนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ การประเมินผลเน้นด้านความรู้
                 ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า การจัดการศึกษาควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรณ์ศิลปะการพูด คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี วิธีสอนใช้การฝึกฝนทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน การฝึกทักษะ การท่องจำ การคำนวณ และการถามตอบ
                ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือปรัชญาพิพัฒนนิยม หรือปรัชญาวิวัฒนาการนิยม (progressivism) ปรัชญาการศึกษานี้ถือว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือของสังคมในการถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง การจัดการศึกษาตามแนวนี้จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน เน้นการปฏิบัติจริง และความสัมพันธ์กับสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง วิธีการใช้มากคือ การทำโครงการ การอภิปรายกลุ่ม และการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล
                ปรัชญาอัตนิยม หรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม หรือปรัชญาสวภาพนิยม (existentialism) ปรัชญานี้  มีความเชื่อว่า ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ การจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง การจัดการเรียนรู้เน้นพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน วิชาที่เรียนเป็นวิชาที่พัฒนาความสามารถของบุคคลเฉพาะ ลงไป เช่น ศิลปะ ปรัชญา วรรณคดี การเขียน การละคร เป็นต้น
                ปรัชญาปฏิรูปนิยม (reconstructionism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแลงสังคมโดยตรง เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น เนื้อหาวิชาเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา ด้านพฤติกรรมศาสตร์ อิทธิพลของชุมชน ใช้วิธีสอนแบบให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เน้นการอภิปราย การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาของสังคม พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปสังคมด้วย ตารางสอนจัดแบบยืดหยุ่น (flexible schedule) การประเมินผลวัดพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนและทัศนคติเกี่ยวกับสังคม
 สาเหตุที่ทำให้มีการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
2.  พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3.  พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.  พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
5.  พื้นฐานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี

ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา  วิเคราะห์  สำรวจ  วิจัย  สภาพพื้นฐานด้านต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอในการสนับสนุนให้ได้หลักสูตรที่ดี  สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความามารถที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
ข้อมูลต่างๆที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น  นักศึกษาทั้งต่างประเทศและนักการศึกษาไทย  ได้แสดงแนวทางไว้ดังนี้

ทาบา (Hilda  Taba, 1962 :16-87) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. สังคมและวัฒนธรรม
2. ผู้เรียนและกระบวนการเรียน
3. ธรรมชาติของความรู้

กาญจนา  คุณารักษ์ (2521 : 23-36) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.   ตัวผู้เรียน
2.  สังคมและวัฒนธรรม
3.  ธรรมชาติและคุณสมบัติของการเรียนรู้
4.  การสะสมความรู้ที่เพียงพอและเป็นไปได้เพื่อให้การศึกษา

ธำรง  บัวศรี (2532 :  4) กล่าวว่าพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1.   พื้นฐานทางปรัชญา
2.  พื้นฐานทางสังคม
3.  พื้นฐานทางจิตวิทยา
4.  พื้นฐานความรู้และวิทยาการ
5.  พื้นฐานทางเทคโนโลยี
6.  พื้นฐานทางประวัติศาสตร์


สงัด   อุทรา (2532 : 46) กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร  ไว้ดังนี้
1.พื้นฐานทางปรัชญาการศึกษา
2.ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม
3.พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน
4.พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้
5. ธรรมชาติของความรู้

สาโรช  บัวศรี (2514 : 21-22) ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐาน หลัก 5 ประการ คือ
1. พื้นฐานทางปรัชญา
2. พื้นฐานทางจิตวิทยา
3. พื้นฐานทางสังคม
4. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
5. พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี

เห็นได้ว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้าน สำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
1. สังคมและวัฒนธรรม
2. เศรษฐกิจ
3. การเมืองการปกครอง
4. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในสังคม

5. พัฒนาการทางเทคโนโลยี
6. สภาพสังคมในอนาคต
7.บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
8.โรงเรียน  ชุมชน  หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
9.ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตรเดิม
10.ธรรมชาติของความรู้
11.ปรัชญาการศึกษา
12.จิตวิทยา
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
หลักสูตรที่จะนำไปสอนอนุชนต้องมีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก และธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ จึงจะทำให้หลักสูตรีความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการสังคมได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการใหม่ ผลของการวิเคราะห์ออกมาอย่างไร หลักสูตรก็จะเปลี่ยนจุดหมายไปแนวนั้น สามารถจำแนกข้อมูลให้เห็นชัดเจนได้ดังนี้
1. โครงสร้างของสังคม แบ่งเป็นสังคมชนบทและสังคมเมือง  การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาโครงสร้างของสังคมที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และแนวโน้มโครงสร้างสังคมในอนาคตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาจัดหลักสูตรว่า จะจัดหลักสูตรอย่างไรเพื่อยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมตามความจำเป็น
2. ค่านิยมในสังคม   ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ  การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องศึกษาค่านิยมต่างๆในสังคมไทยว่า ค่านิยมชนิดไหนสมควรได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือดำรงไว้  หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาและเลือกค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมไทย
3. ธรรมชาติของคนในสังคม  ธรรมชาติของคนในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและค่านิยม ซึ่งทำให้คนไทยมีบุคลิกภาพต่างๆกัน เช่น ยึดมั่นตัวบุคคล  ยกย่องบุคคลที่มีการศึกษาสูง ยกย่องผู้มีเงิน รักความอิสระ เชื่อโชคลาง เล่นพวก ไม่กระตือรือร้น ฯลฯ
การพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกของคนในสังคม ในสภาพปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ
4.การชี้นำสังคมในอนาคต  ระบบพัฒนาหลักสูตรในอดีตเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด  ความต้องการและปัญหาของสังคม จึงให้การศึกษาเป็นตัวตาม เป็นเครื่องมือที่คอยพัฒนาไปตามกระแสของความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นผลผลิตที่ได้จากหลักสูตร คือ ผู้เรียนเป็นผู้ที่วิ่งตามสังคม ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นักพัฒนาหลักสูตรจึงควรศึกษาข้อมูลต่างๆที่เป็นเครื่องชี้นำสังคมในอนาคต เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 5.  ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง  นักพัฒนาหลักสูตรควรจะได้ศึกษาข้อมูลหรือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อที่จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าสภาพสังคมในอนาคต 5-10 ปี ข้างหน้าจะเป็นเช่นไร แม้จะเป็นการยากแก่การพยากรณ์แต่เป็นทางที่จะช่วยผลิตประชากรให้แก่สังคมได้อย่างสอดคล้องตามนโยบายการศึกษาของชาติ  และในการผลิตคนให้แก่สังคมในอนาคตที่ทำได้แน่นอนคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต จรรโลงสภาพสังคมในอนาคตให้ดีขึ้น ลักษณะประชากรที่มีคุณภาพดีมีดังนี้

-มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
-มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำประโยชน์แก่ครอบครัว
-เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
-มีสติปัญญา  หมั่นเสริมสร้างความรู้ความคิดอยู่เสมอ
-มีนิสัยรักการทำงาน ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ ภักดี
-มีมนุษยสัมพันธ์ และมนุษยธรรม
หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรก็คือ จะต้องพิจารณาว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไร  รูปแบบใด จึงจะทำให้ประชากรมีคุณภาพดี
6.ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม  ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม วัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่จะแสดงให้ทราบว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนในสังคมเดียวกันหรือเป็นคนชาติเดียวกัน ดังนั้นศาสนาและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์สำคัญของหลักสูตรก็คือการทำนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามไว้  และสกัดกั้นวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้มาทำลายความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงศาสนาและวัฒนธรรม ความรู้และหลักธรรมทางศาสนาต่างๆนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร คือสอนให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข  ด้านวัฒนธรรมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะวิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก  เพราะหลักสูตรที่ดีจะต้องตอบสนองสังคมและพัฒนาสังคมไปพร้อมกัน  การศึกษาข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรอบคอบจะทำให้เราสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรที่ดีตามลักษณะดังจ่อไปนี้

-สนองความต้องการของสังคม
-สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม
-เน้นในเรื่องรักชาติรักประชาชน
-แก้ปัญหาให้กับสังคม  มิใช่สร้างปัญหาให้กับสังคม
-ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น
-สร้างความสำนึกในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-ชี้นำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงประเพณีและค่านิยม
-ต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม
-ปลูกฝังในเรื่องความซื่อสัตย์และความยุติธรรมในสังคม
-ให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ในสังคม

กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.  วินิจฉัยความต้องการ : สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2.  กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3.  คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4.  จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
5.  คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6.  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง
7.  กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร

 สงัด อุทรานันท์ มีความเห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความครอบคลุมถึงการร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วย การใช้หลักสูตรและการประเมินหลักสูตรนั้น เป็นกระบวนการอันหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตร โดยได้จัดลำดับขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ
1.  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2.  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3.  การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระ
4.  การกำหนดมาตรการวัดและการประเมินผล
5.  การนำหลักสูตรไปใช้
6.  การประเมินผลการใช้หลักสูตร
7.  การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
 กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 6 ขั้นดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1.  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3.  การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4.  การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
5. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ การประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด และควรจะประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตร จึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้ คือ
5.1 การประเมินเอกสาร หลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมดี และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด หากมีสิ่งใดบกพร่องก็จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ในโอกาสต่อไป
5.2 การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตร สามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียงใด มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรก็มักได้รับการแก้ไขโดยทันที เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรไปแล้ว การประเมินหลักสูตร ในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเพียงใด
5.4 การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก กล่าวคือ การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตร กับระบบบริหาร โรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการสอน และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
6.  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการประเมินผลหลักสูตรแล้ว ซึ่งเมื่อมีการใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและสังคม จนทำให้หลักสูตรขาดความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้เวลาเป็นปีขึ้นไป ในการเตรียมการ และการดำเนินงานจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณมากพอสมควร เพื่อจะให้ได้หลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาเยาวชนของชาติต่อไป

 ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
           ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการอสนของครูตามแนวหลักสูตร
ปัญหาการจัดอบรมครู
ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่


วิธีการการพัฒนาหลักสูตร มี  5 วิธีการ
การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

   ในบทบาทของครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
                ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาจะต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
1.              ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตร  
ความหมายของคำว่าหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือมวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดใหกับผู้เรียน
ซึ่งหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมาย  ขอบข่ายเนื้อหา และความสัมพันธ์กับเวลา  โดยรูปแบบหลักสูตรระดับห้องเรียน
2.              ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ มี 5 ด้าน  ได้แก่  ด้านปรัชญาการศึกษา  ด้านจิตวิทยา
การศึกษา  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ด้านวิชาการ  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต้องนำมาวิเคราะห์  เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร  และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่สัมฤทธิ์ผลต่อไป
3.              รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสงัด  อุทรานันท์
                สงัด  อุทรานันท์  ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรโดยยึดหลักการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ  โดยแบ่งออกเป็นการร่างหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  และการประเมินผลหลักสูตรทั้งระบบอีกด้วย  แบ่งออกเป็นขั้นตอนซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปวัฏจักรของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรได้ดังภาพประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นการประเมินผลการใช้การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตรปรับปรุงแก้ไขการนำหลักสูตรไปใช้การคัดเลือกจัดเนื้อหาสาระ การกำหนดมาตรการการวัดและประเมินผล


รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวิชัย  วงษ์ใหญ่
วิชัย   วงศ์ใหญ่  (2543 , น. 77)  ได้เสนอรูปแบบและแนวคิดของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
ดังนี้
การกำหนดจุดมุ่งหมาย  หลักการ  โครงสร้าง  และการออกแบบหลักสูตร
ยกร่างเนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มประสบการณ์  แต่ละหน่วยการเรียนและรายวิชา
นำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
อบรมครู  ผู้บริหารทุกระดับ  และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่
นำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน  และประกาศใช้หลักสูตร  โดยมีกิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่ ดังนี้
    การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ การจัดทำวัสดุหลักสูตร  ได้แก่  เอกสารและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคลากร  วัสดุหลักสูตร และบริการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่อบรมครูและบุคลากรฝ่ายบริหารหลักสูตร  ห้องสมุด  ห้องเรียน  รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ การสอน  เป็นหน้าที่ของครูปฏิบัติการทั่วไป
     การประเมินผล  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินผลการเรียนของนักเรียน  และการประเมินผลหลักสูตร  ตั้งแต่ประเมินเอกสาร  ผลการนำหลักสูตรไปใช้  และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4.  การบริหารหลักสูตร
การบริหารหลักสูตร  เป็นการนำกระบวนการบริหารมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนหลักสูตร  การนำ
หลักสูตรไปใช้  ตลอดจนการประเมินผลหลักสูตร  ซึ่งการบริหารหลักสูตรใด ๆ ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน  แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้บริหารหลักสูตรควรคำนึงถึงคือ การเตรียมครูผู้สอน เพราะว่าครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรนั้นบรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร  โดยครูจะเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนภายในห้องเรียน  ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า “ครูผู้สอน คือ หัวใจของหลักสูตร”  และคุณภาพของครูผู้สอนจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุจุดหมายของหลักสูตร  ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ผลิตครูนั้น  การผลิตครูหรือพัฒนาครูควรตระหนักถึงคุณภาพของครูด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตครู  ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตให้มีคุณภาพเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียน และสามารถออกไปใช้หลักสูตรได้  โดยสามารถแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนได้  ดังนั้น  หน่วยงานที่ผลิตครูควรให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามาเรียนวิชาครูหลักสูตรสำหรับผลิตครู และกระบวนการผลิตครู  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู  ส่วนกรณีครูประจำการนั้น  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง  ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันที่จะเตรียมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ  การศึกษาในอนาคตของประเทศก็คงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
 5.  นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
                วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ถือว่ากระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน  ถ้าครูผู้สอนรู้จักเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ  ก็จะส่งผลต่อการบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร  อย่างไรก็ตาม  วิธีการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ ก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป  ซึ่งจะต้องอาศัยการเรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นอย่างเข้าใจ  อันนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  และตอบสนองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
  6.  การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการ
ควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง
    7.  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ  จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา  รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องนอกสถานศึกษา  เพื่อระดมความคิด  ประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  รวมทั้งเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา

                การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  มีข้อควรคำนึง 2 ประการ  คือ ต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544 และจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ  สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้อย่างอิสระ  โดยยึดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในการจัดการศึกษาที่มีความถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น  มีความเป็นไปได้ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
                ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้
ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
ปัญหาการจัดอบรมครู
ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...