ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียน
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้นั้นไปทำประโยชน์ด้านต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาการศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ
และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา
ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคม ด้วยทฤษฎีหลักสูตร เนื้อหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ในการศึกษารูปแบบ
หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning,
Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้ Curriculum – Planning หมายถึง
กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง
หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง Curriculum
Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร
CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum
– lmprovement หมายถึง การปรับปรุง
หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง
กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า
เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ
เซเลอร์ (J. Galen Saylor) กาและอเล็กซานเดอร์ (William
M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
1.ใช้การพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
2.ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3.วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม
และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน
1.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
1.มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2.มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นจะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4.จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้
ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1.
การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ4. การประเมินผล
2.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้
8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพ ปัญหา
ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3
คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ
และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน
โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ
และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ
พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่
และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
1.เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
2.ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
3.ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด
3.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
3. เคอร์ (John
F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็นOperational
Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
1.ระดับพัฒนาการ ความต้องการ
และความสนใจของนักเรียน
2.สภาพปัญหา
และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
3.ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ
โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin
S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ
ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย
มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไป ได้แก่
การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว
และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น
ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล
ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
4.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ
อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
1.ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอน ย่อยๆ
ได้แก่การเลือกจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ขั้นเตรียมวัสดุ
อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ
อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา
ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6
ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุง แก้ไขระบบการสอน
ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
5.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ
สสวท.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี
2519ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย
หลักของการพัฒนาหลักสูตร
จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1.ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา
สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
2.พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป็นต่างๆสังคม
3.พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ
ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
5.ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน
จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง
และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น