หลักสูตรบูรณาการ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 หมวดที่ 4 มาตรา 23 กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษาและใน มาตรา
24(4) ได้กำหนดไว้ว่า “ การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา”
จอห์น
ดิวอี้ ปราชญ์ทางการศึกษาชาวอเมริกา
ได้อธิบายถึงความจำเป็นที่โรงเรียนต้องจัดให้มีการสอนแบบ “บูรณาการ” ( Integrate
curriculum) หรือการเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
โดยไม่เน้นการเรียนเป็นรายวิชา ว่า ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งประสบการณ์ต่าง ๆ
ในชีวิตของมนุษย์นั้น จะผสมผสานกัน มิได้แยกออกเป็นส่วน ๆ ทั้งนี้
มนุษย์จำเป็นต้องใช้ทักษะหลายประการในการเรียนรู้จากประสบการณ์
รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาง่าย ๆ
หรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม แต่การที่โรงเรียนเน้นการสอนแยกเนื้อหาวิชา
จะทำให้การเรียนนั้นไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียน
เพราะเด็กมองไม่เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งที่เรียน
กับสิ่งที่เป็นไปในชีวิตจริงนอกโรงเรียน ดังนั้น
หลักสูตที่เน้นการสอนแบบบูรณาการจะสอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็กมากกว่า
โดยจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาวิชาต่าง ๆ
ทั้งยังกระตุ้นให้เด็กใฝ่เรียนรู้
เนื่องจากเขาสามารถนำเนื้อหาและทักษะที่เรียนไปใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา ลดจำนวนเวลาเรียน
เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน รวมทั้งส่งเสริมผู้เรียนให้มีโอกาสใช้ ความคิด
ประสบการณ์ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อมกัน
วารสารวิชาการ (อ้างถึงใน บูรชัย
ศิริมหาสาคร,2454)
การสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) คือ
การสอนโดยใช้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักแล้วสอนเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับเรื่องหรือวิชาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างกลมกลืน เพื่อให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
การสอนแบบบูรณาการ หมายถึง
การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่างๆ
มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ
มาใช้ในชีวิตจริงได้ สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
(Integrated Learning Management) หมายถึง
กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะและ
เจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง
เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1. สิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ใน
สาขาต่างๆ ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ
มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการ แก้ปัญหาได้
ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆ
ศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอด ของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้
(Transfer
of learning) ของศาสตร์ต่างๆ
เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้
3.
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ ใน
หลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้
แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
4.
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆ ด้านของ
ผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ “แบบพหุปัญญา” (Multiple
intelligence)
5.
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism)
ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
รูปแบบของการบูรณาการ (Model
of integration)
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 4 แบบ
1. การบูรณาการแบบสอดแทก (Infusion)
การเรียนรู้แบบนี้ครูจะนำเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเองเป็นการ
วางแผนการสอนและทำการสอนโดยครูเพียงคนเดียว ข้อดี
1.1. ครูคนเดียวบริหารทั้งเนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาที่ใช้โดยสะดวก
1.2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน ข้อจำกัด
1.2.1 ครูคนเดียวอาจไม่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชาบางเรื่อง
1.2.2 เนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดอาจซ้ำซ้อนกับของวิชาอื่น
1.2.3 ผู้เรียนจะมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
2. การบูรณาการแบบขนาน (Parallel)
การเรียนรู้แบบนี้ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเองแต่จะมาวางแผน
ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง
(Theme) ความคิดรวบยอด (Concept) และปัญหา
(Problem) เดียวกันในส่วนหนึ่ง
ข้อดี 1.
ครูผู้สอนแต่ละคนยังคงบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้เวลาโดยสะดวก
2.
ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน
3. เนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนลดการซ้ำซ้อนลง ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน ข้อจำกัด
3.1.
ครูยังคงต้องรับภาระเนื้อหาวิชาที่ไม่ชำนาญ
3.2.
ผู้เรียนยังมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline)
การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน
ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือโครงการที่มีหัวเรื่อง
แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
ข้อดี 1.
สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
2.
ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
3.
ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง ข้อจำกัด
3.1. มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน
4. การบูรณาการแบบข้ามวิชา (Transdisciplinary)
การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ
จะมาร่วมกันสอนเป็นคณะ ร่วมกันวางแผน กำหนดหัวเรื่อง
ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
ข้อดี 1.
สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
2.
ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
3.
ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง ข้อจำกัด
3.1. มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน
3.2. ผู้สอนต้องควบคุมการเรียนให้ทันตามกำหนด
นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี
การพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ
ได้ดังนี้
1. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated
Curriculum Innovation) การจัด กิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused
activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะ
ความสมารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2. นวัตกรรมกระแสนิยม (In
Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแส
หรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน
หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน
เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated
Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มี
การบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ
มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด
แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4. นวัตกรรมเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108
Student Initiations Innovation) การ
จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม
เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณ์
5. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized
Innovation) การจัดกิจกรรมที่
กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง
และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริหาร
(Service
Learning-Based Innovation) การจัด
กิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7. นวัตกรรมการประชุม (Forum
Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา
เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living
Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต”
ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ
และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine
Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็น
ผู้กำหนดคุณลักษณ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development
Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง
และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส
ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11.
นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World
Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน
ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการเชื่อมโยงวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ
เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น
ได้แก่
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ
มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า
ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ
ที่เหมาะสม
2.
บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย
ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม
ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้
ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก
ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4.
บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ
ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการ
เป็นส่วนที่สำคัญของหลักสูตรแบบบูรณาการ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีผู้เสนอแนวคิดไว้
ดังต่อไปนี้ สำลี รักสุทธิ และคณะ (2544 : 27-18)
ได้เสนอหลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ ดังนี้
1.
จัดกิจกรรมที่ใช้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และ
อารมณ์
2. ยึดการบูรณาการวิชาเป็นสำคัญ
โดยการบูรณาการทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือระหว่าง
วิชาเชื่อมโยงหรือบูรณาการเข้าด้วยกันให้เป็นความรู้แบบองค์รวม
3. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ปรึกษาหารือ
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
4. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นสำคัญ
5.
เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานโดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึง
กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิผลของงานด้วย
6.
เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ
การติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
7. เน้นการเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย
8. เน้นการเป็นคนดีและมีคุณค่า
ต่อสังคม ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งหรือ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
รูปแบบบูรณาการ
หลักสูตรบูรณาการเท่าที่มีอยู่เวลานี้มี
3 รูปแบบ แต่ในการปฏิบัติจริงมักจะมีผสมกันระหว่างรูปแบบต่างๆ
ที่นำมาจำแนกให้เห็นก็เพื่อคามเข้าใจว่าพื้นฐานที่แท้จริงของแต่ละรูปแบบนั้นเป็นอย่างไร
1. ในบูรณาการในหมวดรายวิชา
เราได้ทราบแล้วว่าหลักสูตรกว้างนั้นเป็นหลักสูตรที่ได้มีการนำเอาวิชาหลาย ๆ
วิชามารวมกันในลักษณะที่ผสมกลมกลืน แทนที่จะนำเอาเนื้อหาวิชามาเรียงลำดับ เช่น
ในวิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้มีการนำเอาเนื้อหา วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา มาร่วมกัน
ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับแนววามคิดของหลักสูตรที่ว่ามาเรียนรู้ลักษณะเป็นสหวิทยากร
2. บูรณาการภายในหัวข้อและโครงการ หลายประเทศในเอเชียนิยมใช้วิธีการแบบนี้คือการนำเอาความรู้
ทักษะ และประสบการณ์
ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชานั้นไปผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียนและแต่ในละหัวข้อจะมีการแบ่งปันหน่วยการเรียน
ด้วยทำให้เกิดหลักสูตรบูรณาการที่เราเรียกว่า หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
3. บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและสังคม
หลักสูตรที่ใช้ในการผสมผสานแบบนี้
ความจริงก็มีรูปแบบเหมือนอย่างสองแบบแรกที่ได้กล่าวมาแล้วคืออาจผสมผสานภายในหมวดวิชาหรือภายในหัวข้อและโครงการก็ได้
สิ่งที่แตกต่างออกจากหัวข้อหรือหน่วยการเรียน
หรือโครงการจะเน้นการแก้ปัญหาชีวิตประจำวันของผู้เรียนไม่ว่าจะปัญหาส่วนตัว
ปัญหาชุมชน ปัญหาการงานอาชีพ ปัญหาสังคม ฯลฯ
ส่วนอรทัย มูลคำ และคณะ (2542 : 13)
ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการ ได้แก่
1. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ เรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น
2.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานกลุ่มด้วยตนเอง โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่ม
ลักษณะต่างๆ หลากหลายในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือทำ
3. จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่ายตรง กับความจริง
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผล
4.
จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิดกล้าทำ
ส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อสาธารณะชนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
5. เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม
และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม ให้ผู้เรียนสามารถ
วางแผนแยกแยะความถูกต้องดีงามและความเหมาะสมได้
สามารถขจัดความขัดแย้งได้ด้วยเหตุผล มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาและสามัคคี
แนวคิดเดียวกันนี้
วลัย พาณิช ( 2544 : 167-169)
ได้เสนอแนวทางการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการออกเป็น 2 ลักษณะ
1.
ลักษณะที่เป็นหัวเรื่อง (Theme) แบ่งออกเป็น 2
ลักษณะ คือ
1.1
การจัดการเรียนการสอนแบบจัดหน่วยบูรณาการ (Integrated Unit) ซึ่งจะต้องมี เนื้อหาและกระบวนการ วิธีการ
และเนื้อหาวิชาที่จะบูรณาการตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป
1.2 การจัดการเรียนการสอนแบบมีหัวเรื่อง (Theme)
จะไม่มีการบูรณาการเชิง เนื้อหาวิชา เรียกว่า
เป็นการบูรณาการแบบหน่วยการเรียนหรือหน่วยรายวิชา
2.
ลักษณะที่เป็นโครงการ เป็นการสอนตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป ให้ผู้เรียนสามารถจัดในรูป
ของโครงการที่บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ความรู้จากหลายหลากวิชาในเรื่องเดียวกัน
มอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการร่วมกัน ครูวางแผนการสอนร่วมกัน
และกำหนดงานหรือโครงการร่วมกัน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการนั้น
จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) ซึ่งต้องมีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน
ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา
(Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน
มีงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวผสมผสานกันไป
เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง
ประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่ในขอบเขตสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
จึงต้องพิจารณาขอบเขตการเรียงลำดับของเนื้อหาของลักษณะวิชารวมทั้งลักษณะของผู้เรียนด้วย
และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง Advertisement
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น