แบบจำลองของโอลิวา
โอลิวา (oliva) ได้แสดงแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของตน
เพื่อให้บรรลุเกณฑ์สามประการคือ
ประการแรก แบบจำลองจะต้องเรียบง่าย
(simple) มีความครอบคลุมกว้างขวาง(comprehensive) และมีความเป็นระเบียบ (systematic) ซึ่งประกอบด้วย 6
ขั้นตอนคือ หนึ่งประพจน์ของปรัชญา (statement of philosophy) สองประพจน์ของเป้าประสงค์ (statement
of goals) สามประพจน์ของจุดประสงค์ (statement of objectives) สี่การออกแบบของแผน
(besign of plan) ห้านำไปใช้ปฏิบัติ (implementation) และสุดท้ายการประเมินผล ดังภาพ
8.14
แม้ว่าแบบจำลองนี้จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบที่จำเป็นที่สุด
แต่ก็พร้อมที่จะขยายไปสู่แบบจำลองที่ขยายแล้ว ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมผนวกเข้าไป
และแสดงกระบวนการบางอย่างซึ่งปรับจากแบบจำลองเดิม แบบจำลองโอลิวาที่ขยายแล้วมี 12
องค์ประกอบปรากกฎ ดังภาพ ประกอบ 25
องค์ประกอบสิบสองประการ แบบจำลองที่ปรากฏในภาพที่ 8.14
แสดงความครอบคลุมกว้างเป็นกระบวนการที่เป็นไปทีละขั้นๆ (step-
by-step) ที่นำผู้วางแผนหลักสูตรที่เริ่มจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ของหลักสูตรไปสู่การประเมินผล แต่ล่ะองค์ประกอบ (ออกแบบโดยใช้เลขโรมันจาก l
ถึง xll จะได้รับการพรรณนาและแนะนำให้กับผู้วางแผนหลักสูตรและผู้มีส่วนร่วม
โดยสรุปดังนี้
เราสังเกตพบว่าในแบบจำลองนี้ใช้ทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและวงกลม
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้เป็นตัวเป็นตัวแทนของระยะการวางแผน (Operational
phase) กระบวนการเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบที่ l ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้พัฒนาหลักสูตร
กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาหลังการทางปรัชญาและจิตวิทยาความมุ่งหมายเหล่านี้เชื่อว่าได้มาจากความต้องจากความต้องการจำเป็นของสังคม
และความต้องการจำเป็นเช่นเดียวกับแบบจำลองของนักการศึกษาอื่นๆ แบบจำลองของโอลิวา
ก็รวมทั้งแผนของการพัฒนาหลักสูตร (องค์ประกอบที่ I-V และองค์ประกอบที่
XII) และการออแบบการเรียนการสอน (องค์ประกอบที่ VI-XI)
ลักษณะสำคัญของแบบจำลองนี้คือ
เส้นของข้อมูลป้อนกลับ (feedback lines) ซึ่งเป็นวงจรย้อนกลับจากการประเมินผลหลักสูตรไปยังเป้าประสงค์ของหลักสูตร
และจากการประเมินผลการเรียนการสอนไปยังเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน
เส้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบของแต่ละวงจรย่อยอย่างต่อเนื่อง
การใช้แบบจำลอง แบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย
ทิศทางแรกแบบจำลองนี้ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์ของโรงเรียน
สาขาวิชาต่างๆ ในแต่ละสาขา เช่น ศิลปะภาษา
ก็จะสามารถพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยแบบจำลองนี้ได้
แผนสำหรับหลักสูตรในสาขาวิชานี้และการออกแบบวิธีการใช้หลักสูตรด้วยการจัดการเรียนการสอน
หรือ แต่ละสาขาวิชาอาจพัฒนาโปรแกรมสหวิทยาการของโรงเรียน
โดยการผสมผสานระหว่างวิชาเฉพาะ เช่น การศึกษาอาชีพ (Career
education) การแนะแนว (guidance) และกิจกรรมพิเศษของชั้นเรียน
ทางที่สอง สาขาวิชาอาจเน้นองค์ประกอบหลักสูตรแบบจำลอง (องค์ประกอบที่ I-V และ XII) เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโปรแกรม
หนทางที่สาม สาขาวิชาอาจเน้นที่องค์ประกอบของการเรียนการสอน (VI-XI)
แบบจำลองย่อยสองแบบ
แบบจำลองทั้งสิบสองระยะที่กล่าวถึงนี้เป็นการบูรนาการผสมผสานแบบจำลองทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตร
กับแบบจำลองทั่วไปสำหรับการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ (I-V
และ XII) ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการพัฒนาหลักสูตรซึ่ง โอลิวา อ้างว่า
เป็นแบบจำลองย่อยของหลักสูตร องค์ประกอบที่ VI-XI ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการเรียน
การสอน ในการแยกความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรและองค์ประกอบของการเรียน การสอน
โอลิวาได้ใช้เส้นประสำหรับแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน
เมื่อไม่มีการแบบจำลองย่อย (sub
model) ของหลักสูตร
ผู้วางแผนหลักสูตรต้องกำหนดในใจว่าภาระงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์
จนกระทั่งได้มีการแปรเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของหลักสูตรออกเป็นขั้นตอนย่อยๆสู่การเรียนการสอน
ต่อจากนั้นเมื่อมีการใช้แบบจำลองของการเรียนการสอน
ผู้วางแผนหลักสูตรต้องรับรู้เป้าประสงค์และจุดประสงค์หลักสูตรของโรงเรียนหรือของสาขาวิชาโดยรวม
สำหรับผู้ที่ไม่ชอบขั้นตอนที่เป็นไดอาแกรมตามภาพ โอลิวาได้จัดเตรียมรายการของขั้นตอนโดยเรียงลำดับดังนี้
1.
ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนโดยทั่วๆ ไป
2. ระบุความต้องการของสังคม
3.
เขียนประพจน์ของปรัชญาและความมุ่งหมายของการศึกษา
4.
ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนในโรงเรียน
5.
ระบุความต้องการจำเป็นของชุมชนเฉพาะ
6.
ระบุความต้องการจำเป็นของเนื้อหาวิชา
7.
ระบุเป้าประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
8. ระบุจุดประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
9. จัดหลักสูตรและนำไปใช้
10. ระบุเป้าประสงค์การเรียน
11.
ระบุจุดประสงค์การเรียนนำกลยุทธ์การเรียนการสอน
12.
เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอน
13.
เริ่มต้นเลือกกลยุทธ์การประเมินผล
14.
นำกลยุทธ์การเรียนการสอนไปปฏิบัติ
15.
เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอนขั้นสุดท้าย
16.
ประเมินผลการเรียนการสอนและปรับปรุงขององค์ประกอบของการเรียนการสอน
17.
ประเมินผลหลักสูตรและปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตร
ขั้นที่ 1-9 และ 17
ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของหลักสูตร ขั้นที่ 10-16
เป็นแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน
ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่างๆ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว
เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่นๆ
ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์
และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ
การนำไปใช้ และการประเมินผล)
ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการกระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ
(การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่นๆ)
มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความผิดแผกแตกต่างเล็กๆ
น้อยๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้
ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก “ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม”
ในการพรรณนารายละเอียดทุกๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด
การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมากๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ
ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร
คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ
ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย
และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น
ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้)
ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ว่า
แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ
ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปีและพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือนักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้
เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุงแบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
ก่อนที่จะเลือกแบบจำลองหรือออกแบบจำลองใหม่ผู้วางแผนหลักสูตรอาจจะกำหนดเกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการปรับปรุงหลักสูตร
เป็นที่ยอมรับกันว่า แบบจำลองโดยทั่วไปควรแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการถึงระยะของการวางแผนการนำไปใช้และการประเมินผล
2. ธรรมเนียมการปฏิบัติ
แต่ไม่จำเป็นต้องตายตัว คือมีจุด “เริ่มต้น” และ “จบ”
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
4. ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรและเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
5.
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
6.
มีรูปแบบเป็นวงจรมากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
7.
มีเส้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ
8. มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในจุดใดจุดหนึ่งของวงจร
9.
มีความสอดคล้องภายในและมีตรรกะ
10.
มีความเรียบง่ายเพียงพอที่จะเข้าใจได้และทำได้
11.
มีการแสดงองค์ประกอบในรูปของไดอะแกรมหรือแผนภูมิ
เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้
โอลิวาได้ยอมรับว่า
เป็นเกณฑ์ที่มีเหตุผลที่ปฏิบัติตามได้และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทาง
โอลิวาได้เสนอแบบจำลองที่ควบคู่ไปกับข้อแนะนำข้างต้นซึ่งจะทำให้บรรลุความมุ่งหมายสองประการ
คือ
1.
เพื่อเสนอแนะระบบที่ผู้วางแผนหลักสูตรประสงค์จะปฏิบัติตาม
2.
เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบงานสำหรับการอธิบายระยะต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ
ของกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ
ทั้งแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์
และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์) ของวอคเกอร์และสกิลเบค
ตลอดจนแบบจำลองของนักการศึกษาคนอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว
แบบจำลองเหล่านี้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
ในส่วนที่แตกต่างกันคือ บางแบบจำลองมีขั้นตอนละเอียดมากและแต่ละแบบจำลองก็มีขั้นตอนที่เป็นจุดร่วมที่เหมือนกันที่พอจะสรุปเป็นขั้นของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมได้ห้าขั้นตอน
คือ
1.
การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.
การเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
3. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ
4. การประเมินผลหลักสูตร
5.
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น