วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สรุปสิ่งที่ได้จากวิดีโอ


เรียนรู้ทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เตรียมพร้อมรับโลกใหม่ในยุค AI
สรุป
        โลกของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเลยต้องมีการปรับการเรียนรู้ จะเรียนในตำราหรือวิธีการแบบเดิมไม่ได้แล้ว เพราะการเรียนรู้ได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น Alpha Go Zero เรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่มีใครมาสอน หรือจากการศึกษาสมัยก่อนมีการท่องจำว่า ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ 9 ดวง แต่ในปัจจุบันมีการตัดดาวพลูโตออกจากระบบสุริยะกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ ดังนั้นการเรียนในยุคก่อนจะล้าสมัยและไม่มีประโยชน์ในยุคปัจจุบัน  เราจึงต้องเตรียมตัวสำหรับเด็กในยุคอนาคต การสอนเด็กในยุคอนาคตจะต้องสอนให้เด็กคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ หาความรู้ด้วยตัวเอง สื่อสารก่ง อดทน เรียนรู้จากแหล่งที่หลากหลาย จึงจะเกิดการเรียนรู้ตลอดชีพตลอดชีวิตได้ การเรียนการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีผู้เรียนเป็นบทบาทมากขึ้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ (Active Leaning) ไม่ใช่ครูเป็นศูนย์กลางและสอนให้เด็กทำตามเพราะการสอนโดย จด หรือ บรรยาย ในการฟังนั้น มีการวิจัยพบว่า เด็กจะมีความรู้ความเข้าใจน้อยกว่าการเรียนรู้ด้วยการเล่นหรือการเรียนแบบปฏิบัติจริง ถ้าดีที่สุดคือการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจะมีความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการเรียนรู้จะต้องเปลี่ยนแปลงไปและจะต้องตะหนัก เพราะโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมทำงานที่ยังไม่มี ใช้เทคโนโยลีที่ยังไม่เกิด แก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ ฉะนั้นเด็กยุคต่อไปต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องจะต้องฝึกทักษะการเรียนรู้จากการทำให้เรียนรู้ มีแรงดลใจและแรงจูงใจ เรียนรู้ด้วยตัวเอง จะต้องมีจินตนาการที่คอมพิวเตอร์ไม่มี ต้องเข้าใจแบบลุ่มลึกเมื่อเห็นข้อมูลเยอะแล้วยิ่งเข้าใจมากยิ่งขึ้น  มีญาณทัศน์ ไม่ต้องเห็นข้อมูลก็รู้สึกได้ด้วยตัวเอง



วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สังเคราะห์


ความหมายทั่วไปของหลักสูตรคำว่า
“หลักสูตร” ภาษาอังกฤษ เขียนว่า Curriculum มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “currere” หมายถึง “race – course” หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เมื่อนำมาใช้ในบริบทของการศึกษา จึงหมายถึง running sequence of courses or learning experience เปรียบเสมือน เส้นทางที่ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ (วิชัย วงษ์ใหญ่,2554:105)
       ความหมายของ“หลักสูตร” ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2546 คือ ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักสูตรคือ    ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่า หลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับการเรียนรู้ ทาบา (Taba, 1962 : 11) 
ทาบา (Taba, 1962 : 11)
ไทเลอร์ (Tyler, 1949 : 79)
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล (2529 : 10-11)
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(2521 : 12)
สังเคราะห์ของ
น.ส.สุมิตตา อ่อนนนท์
   ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่า หลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับการเรียนรู้
    ได้สรุปว่าหลักสูตร เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
   กล่าวว่าหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมหรือประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน
 ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ ข้อกำหนดที่ประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง แนวทาง วิธีการ เนื้อหา วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการเรียนการสอน   
  หลักสูตรคือ วิธีการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนแต่ละบุคคล คือหลักการสอน แผนการสอน ที่สร้างเพื่อให้สอดคล้องกับตัวผู้เรียน เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

ความหมายของหลักสูตร


ความหมายของหลักสูตร
หลังจากเกิดตำราเรียนเล่มแรกของหลักสูตรแล้ว ในระยะเวลาต่อมานักการศึกษาคนอื่น ๆ ได้ให้ความหมายของหลักสูตรที่แตกต่างไปดังนี้
                 ในพจนานุกรมการศึกษาของคาร์เตอร์ วี. กู๊ดได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ
หลักสูตรตามความเห็นของลาวาเทลลี หมายถึง ชุดของการเรียนและประสบการณ์สำหรับเด็กซึ่งโรงเรียนวางแผนไว้ให้เด็กบรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
                 หลักสูตรตามความเห็นของจอห์น จี. เซย์เลอร์และวิลเลียม เอ็ม. อเล็กซานเดอร์ หมายถึง แผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือจุดหมายที่วางไว้โดยมีโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ
                 สำหรับหลักสูตรตามความเห็นของแคสเวลและแคมป์เบล หมายถึง หลักสูตรประกอบด้วยประสบการณ์ทุกอย่างที่จัดให้แก่เด็กโดยอยู่ในความดูแลและการสอนของครู
สำหรับอีกความหมายหนึ่งที่สำคัญของหลักสูตร คือ กิจกรรมที่ครูจัดให้นักเรียนได้เล่นเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
                 ดังนั้นจากการให้ความหมายทั้งหมดของนักการศึกษาในอดีต นักการศึกษาในปัจจุบันได้ดึงจุดเด่นของความหมายของคำว่าหลักสูตรนำมาผสมผสานกัน จึงสรุปความหมายของคำว่าหลักสูตรได้ว่า หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดโดยสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองจนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้





วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 1






·       วีดีโอ

     ·    แผนผังความคิดสรุปจากวีดีโอคิดยกกำลังสองทักษะแห่งโลกอนาคต                         





ประมวลรายวิชา


ประมวลการสอนรายวิชาหลักสูตร

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยนครพนม        
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์
1.รหัสและชื่อรายวิชา
30400305 วิชาหลักสูตร (Curriculum)
2.จำนวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต (3-0-6)
3.หลักสูตรและประเภทรายวิชา
      สาขาวิชาภาษาไทย ห้อง 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชา (วิชาบังคับ)  
4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
5.ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
          ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561                           
6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
    -
7.สถานที่เรียน
           คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
       รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาให้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนี้
           8.1 มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
           8.2 วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา
           8.3 มีทักษะในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรการจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
           8.4 มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           8.5 มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร



9.คำอธิบายรายวิชา
           หลักการแนวคิดในการทำหลักสูตร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทำหลักสูตรประเภทของหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดทำหลักสูตร การปฏิบัติการประเมินหลักสูตรและการนำผลการประเมินไปใช้ ในการพัฒนาหลักสูตร

10.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคเรียน
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
3 ชั่วโมง
-
0 ชั่วโมงสัปดาห์
6 ชั่วโมงสัปดาห์

11แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายระเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้(ถ้ามี)

ผู้สอน
1
แนะนำรายวิขา
วางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การพัฒนามนุษย์ การศึกษา การเรียนรู้ของมนุษย์
การพัฒนาหลักสูตร นิยาม/ความหมาย

3
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
2
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรบุรณาการ
หลักสูตรกว้าง
หลักสูตรเสริมประสบการณ์
หลักสูตรรายวิชา
หลักสูตรแกน
หลักสูตรแฝง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
หลักสูตรเกลียวสว่าน
หลักสูตรสูญ
3
-นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา

สัปดาห์ที่
           หัวข้อ/รายระเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้(ถ้ามี)

ผู้สอน
3
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
หลักการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร
3
-นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
4

ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
3
-นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
5-6
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
6
-นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
7
การพัฒนาหลักสูตรสถาบันศึกษา ความจำเป็นของการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา

3
-นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
  8
ประเมินผลกลางภาค
3
ทดสอบ
แบบทดสอบ
ผศ.ดร.พิจิตรา
11-12
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักการนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
6
นำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
13-14-15
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
9
นำเสนองานเดี่ยว/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างใน
ผศ.ดร.พิจิตรา
16
ประเมินผลปรายภาค
3
ทดสอบ
แบบทดสอบ


รวม
48



12. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
             รายวิชา หลักสูตร มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist) การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) และการเรียนรู้ตามแบบจำลอง
NPU Model รายละเอียดดังต่อไปนี้
                 12.1 การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้
                 12.2 วางแผนการเรียนรู้
                 12.3 ออกแบบการเรียนรู้
                        1) การวิเคราะห์และกำหนดผลการเรียนรู้ของตนเอง
                        2) การเข้าชั้นเรียน การร่วมสัมมนา เสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
                        3) การฝึกปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หรือหลักสูตรตามความสนใจ
                        4) การประเมินหลักสูตร การวิพากษ์และรายงานคุณภาพหลักสูตรหลังนำไปใช้
12.4 การใช้ทรัพยากรในการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้
12.5 การประเมินผลการเรียนรู้
Ø การออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยคำนึงถึงหลักการ 7 ประการในการออกแบบหน่วยดังแผนภาพ

Ø ใช้หลักการการออกแบบการสอนตามองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คือ
1.หลักการสอน
2. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาการสอน
3. การสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปฏิบัติดังนี้ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
          ขั้นที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
          ขั้นที่ 4 การสรุปความรู้ และการวิพากษ์ ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้

4.การประเมิลผล
สรุปเป็นแผนภาพ ได้ดังนี้

ปรับจาก Chatterji,Madhabi. (2003) Desgningning and using tools for educational assessment. Pearson Education,Inc. p.30
ซึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะประกอบไปด้วยหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่
·       มโนทัศน์ (Concept)
·       ผลการเรียนรู้ (Learning Outcome)
·       สาระเนื้อหา (Content)
·       สรุป (Summary)
·       ตรวจสอบทบทวน (Self-test)
·       กิจกรรม (Activities)
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
          กรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ คือ หลักการประเมินผลการเรียนและการให้ข้อเสนอแนะที่ดี : ทฤษฎีและหลักการ ที่เป็นผล การศึกษาวิจัยของเดวิด นิดคล (David Nicol University of Strathclyde ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มาตรฐาน) ขอบเขตของทุกสิ่งที่ผู้เรียนรู้ต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2. ให้ เวลาและความพยายาม กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าท้าย ขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหน และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อถือที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน และครู-นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพุดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6. อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนในรายวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล-เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ำหนักคะแนน กำหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอน มีแค่ไหน
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลที่ผู้เรียน ได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชุนแห่งการเรียนรู้ ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน

ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการการประเมินการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
8. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
9. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
10. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจตรงกัน
11. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
12. การประมวลผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
13. การประเมินผลควรเป็นความพยามร่วมกัน
14. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

13. การประเมินผล
          13.1 ประเด็นการประเมินผลของรายวิชา พร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
                   1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร                                     ร้อยละ 10
                   2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ ความน่าสนใจและเข้าชั้นเรียน             ร้อยละ 10
                   3. การฝึกปฏิบัติพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หรือตามความสนใจ                 ร้อยละ 10
                   4. การนำเสนอผลงาน                                                              ร้อยละ 30
                   5. การประเมินความรอบรู้กลางภาคเรียน                                          ร้อยละ 20
                   6.การประเมินความรู้ปลายภาคเรียน                                               ร้อยละ 20
         



13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับ ช่วง (ร้อยละ) ของคะแนน
คะแนน(ร้อยละ)
เกรด
80-100
A
75-79
B+
70-74
B
65-69
C+
60-64
C
55-59
D+
50-54
D
ต่ำกว่า 50
F
                  
14. ตำราและเอกสารหลัก
          คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 1997.

15. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
          ทักษะศตวรรษที่ 21











คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...