๒. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
มนุษย์ คือ สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์ ส่วนพัฒนา
หมายถึง ทำให้เจริญ (พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
จากความหมายของศัพท์ดังกล่าว สรุปได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
คือการทำให้มนุษย์เจริญ
มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคมและในประเทศ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้
บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ
มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(Human
Resources Development) มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการต่างๆ
ในองค์การอย่างไร
Swanson (1995)
ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการของการพัฒนาและการทําใหบุคลากรได้แสดงความเชี่ยวชาญ (Expertise)
โดยใชการพัฒนาองค์การ
การฝึกอบรมบุคคลและพัฒนาบุคคลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน
Rothwell and Sredl
(1992) ใหความหมายว่า เป็นการจัดประสบการณการเรียนรู้ขององค์การ(Organizational
Learning) โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ
เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงการทํางานซึ่งเน้นการทําให้บุคลากรทํางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยการบูรณาการเป้าหมายขององค์การและความต้องการของบุคคลให้สอดรับกัน
หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป็นการนำศักยภาพของแต่ละบุคคลมาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ เมื่อพิจารณา
1.
มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ทั้งด้านความรู้ ด้าน
ทักษะและเจตคติ ถ้าหากมีแรงจูงใจที่ดีพอ
2.
การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก
นำมาสู่การพัฒนาในระบบขององค์การ
3.
วิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมีหลายวิธี จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะขององค์การ
และบุคลากร
4.
จัดให้มีระบบการประเมินการพัฒนาความสามารถของบุคลากรเป็นระยะ ๆ
เพื่อช่วยแก้ไขบุคลากรบางกลุ่ม ให้พัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นและในขณะเดียวกันก็
สนับสนุน ให้ผู้มีขีดความสามารถสูงได้ก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งใหม่ที่ต้องใช้
ความสามารถสูงขึ้น
5.
องค์การจะต้องจัดระบบทะเบียนบุคลากรให้เป็นปัจจุบัน ที่สามารถ
ตรวจสอบความก้าวหน้าได้เป็นรายบุคคล
แนวความคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบ่งได้เป็น
3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง การดำเนินการให้
บุคคลได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อที่จะนำเอามา
ปรับปรุงความสามารถในการทำงานโดยวิธีการ 3 ประการ คือ
1.
การฝึกอบรม (training) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
โดยมุ่งเน้น เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน (present job) เป้าหมาย คือการยกระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ของพนักงานในขณะนั้น
ให้สามารถทำงานในตำแหน่งนั้นๆได้ ซึ่ง
ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที
2. การศึกษา
(education)
เป็นวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยตรง เพราะ
การให้การศึกษาเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ทัศนคติ ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถ
ในการปรับตัวในทุกๆด้านให้กับบุคคล โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับงานของพนักงานในอนาคต (future
job) เพื่อเตรียมพนักงานให้มีความพร้อมที่จะทำงานตามความต้องการของ
องค์กรในอนาคต
3. การพัฒนา
(development)
เป็นกระบวนการปรับปรุงองค์กรให้มี ประสิทธิภาพ
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่ได้มุ่งตัวงาน (not focus on a job) แต่มีจุดเน้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่องค์กรต้องการ
และพร้อมที่จะปฏิบัติงานกับองค์กรใน อนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว
กลุ่มที่ 2 ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง
การนำกิจกรรมที่มีการ กำหนดและวางรูปแบบอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เพิ่มพูนความรู้
ทักษะ ความสามารถ และ ปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3
ส่วน คือ
1. การพัฒนาบุคคล (Individual
Development)
2. การพัฒนาสายอาชีพ (Career
Development)
3. การพัฒนา องค์การ (Organization
Development)
โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเกิดได้จากการนำเป้าหมายของบุคคล
ซึ่งต้องให้ได้มาซึ่งเป้าหมายของแต่ละคน
เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายขององค์การที่ต้องการบุคคลากรประเภทใดทั้งในระยะ สั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยการนำการพัฒนาสายงานอาชีพเป็นตัวเชื่อมเป้าหมายของบุคคล
กับเป้าหมายขององค์การนั้น
กลุ่มที่ 3
ให้นิยามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่า หมายถึง การที่จะพัฒนาองค์การ
ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนรู้และงานเข้าด้วยกัน
ซึ่งสามารถนำมารวมกันได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบใน 3 ส่วน คือ
1. ระดับบุคคล (Individual)
2. ระดับกลุ่มหรือทีมผู้ปฏิบัติงาน (Work
Group or Teams)
3. ระดับระบบ โดยรวม (The
System)
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น
3 ประเภท คือ
(1) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (อดีต)
(2) การเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
ปัจจุบัน
(3)
การเรียนรู้เพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
อันเป็นที่มาของ วินัย 5 ประการ (Disciplines
of the Learning Organization) ประกอบด้วย
1. ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล (Personal
Mastery)
2. กรอบแนวความคิด (Mental
Models)
3. การร่วมวิสัยทัศน์ (Shared
Vision)
4. การเรียนรู้ของทีม (Team
Learning)
5. การคิดแบบเป็นระบบ(Systems
Thinking)
พระธรรมปิฎก
(ป.อ. ปยุตโต, 2539 : 2 - 4 ) กล่าวไว้ว่า ทรัพยากรมนุษย์ เป็นคำที่เกิดมาไม่นานนัก
(เกิดในช่วง ค.ศ. 1965 – 1970 คือ พ.ศ.
2508 – 2513) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่เน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ
และต่อมาก็ขยายไปถึงการพัฒนาสังคม เป็นการมองคนอย่างเป็นทุน
เป็นเครื่องมือเป็นปัจจัยหรือเป็นองค์ประกอบที่จะใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ต่อมาเราเห็นว่าการที่จะพัฒนาโดยมุ่งเน้นแต่ในด้านเศรษฐกิจนั้นไม่ถูกต้อง
แต่สิ่งที่สำคัญคือ คนเรานี่เอง ซึ่งควรจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
เราจึงหันมาเน้นในเรื่องการพัฒนาคน แต่ก็ยังมีการใช้ศัพท์ที่ปะปนกัน
บางทีใช้คำว่าทรัพยากรมนุษย์ บางที่ใช้คำว่าพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์
กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา
เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง
และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(การศึกษาระยะยาว) ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ
หรือยุคสมัยมากกว่า คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น
(การศึกษาระยะสั้น) เช่น
เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจการต่าง ๆ ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสอง
อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน
เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตโต 2540 : 1)
กล่าวว่า ชีวิตจะดีงามมีความสุข
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองมั่นคง และสังคมจะร่มเย็นเกษมศานต์ ด้วยปัจจัยสำคัญที่สุดคือ
การพัฒนาคน ซึ่งจะทำให้คนเป็นคนดีมีความสุข และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
การพัฒนาคนก็คือ การศึกษา คนที่มีการศึกษา
ตลอดจนจบการศึกษาแล้วเรียกว่า บัณฑิต เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระ บัณฑิต ก็คือ
คนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท
พัฒนาชีวิตของตนจนลุถึงประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของชีวิต
การพัฒนา (Development)
เป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่
มุมมองใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างสรรค์งานได้ผลดียิ่งขึ้น
มีบริการที่รวดเร็วกว่า
มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารายบุคคลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบันหรืออนาคต บุคลากรในองค์กรทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน
ทำให้อยู่ในแนวหน้า ปัจจุบันเราเรียกองค์กรนี้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เป็นระบบ
ทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพและต่อเนื่อง มีการปรับบทบาทหน้าที่ การคงอยู่ขององค์กร
กล่าวโดยสรุปการศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งการจัดระบบประสบการณ์การเรียนรู้
การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ
และการเจริญเติบโตของงาน การพัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553
มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก และการศึกษาตามอัธยาศัย
หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย
ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสามฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา
อาจสรุปหลักการด้านหลักสูตร ปรากฏตามมาตราต่าง ๆ ดังนี้
มาตรา 8 (3)
การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 27
ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา 28
หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการ
ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ
ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม
และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา
นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว
ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง และด้านการค้นคว้า วิจัย
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาทางสังคม
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้มนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การจัดการศึกษามี ๓ รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ
ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสามฉบับนี้ถือว่าเป็นเครื่องมอสำคัญในการจัดการศึกษา
อาจสรุปหลักด้านหลักสูตร ปรากฏตามมาตราต่าง ๆ ดังนี้
มาตรา
๘ (๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา
๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ
มาตรา
๒๘ หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการต้องมีลักษณะหลากหลาย
ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมกับวัยและศักยภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น