๓. หลักสูตร
๓.๑ ความหมายของหลักสูตร
คำว่า “หลักสูตร” (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า
“currere” “running
course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง การเปรียบเทียบหลักสูตรกับสนาม
หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งอาจเนื่องมาจากการที่ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาในระดับใดหรือหลักสูตรใดก็ตาม
ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับ
กู๊ด (Good,๑๙๗๓ : ๑๕๗) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary
of Education) ว่า หลักสูตรคือ
กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่างๆ
เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
บ๊อบบิท (Bobbit,๑๙๑๘ : ๔๒)ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักสูตร คือรายการของสิ่งต่างๆ
ที่เด็กและเยาวชน ต้องทำและมีประสบการณ์
ด้วยวิธีการพัฒนาความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวให้ดี เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ได้
นักลีย์และอีแวนส์ (Neagley
and Evans,๑๙๖๗ : ๒ ) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ
ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดเพื่อช่วยให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามความสามารถของนักเรียน
โอลิวา (Oliva,๑๙๘๒ : ๑๐) กล่าวว่า หลักสูตรคือ
แผนหรือโปรแกรมสำหรับประสบการณ์ทั้งหลายที่ผู้เรียนจะต้องประสบปัญหาภายใต้การอำนวยการของโรงเรียน
วีลเลอร์ (Wheenler,๑๙๗๔ : ๑๑) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า
มวลประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งโรงเรียนหรือสถานการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน
โครว์ (Crow,๑๙๘๐ : 250) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรคล้ายกับของวิลเลอร์ เขากล่าวว่า
หลักสูตรเป็นประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
เพื่อนักเรียนมีการพัฒนาด้านร่างกาย สังคม ปัญญา และจิตใจ
๓.๑.๑
หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาสาระที่จัดให้แก่ผู้เรียน
หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาสาระที่จัดให้แก่ผู้เรียนนั้น
หมายถึง วิชาและเนื้อหาสาระที่กำหนด ให้ผู้เรียนต้องเรียนในชั้นและระดับต่าง ๆ
หรือกลุ่มวิชาที่จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
หลักสูตรเตรียมแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ หลักสูตรธุรกิจ
หลักสูตรตัดเสื้อและหลักสูตรการเลี้ยงสุกร
๓.๑.๒ หลักสูตรในฐานะที่เป็นเอกสารหลักสูตร
กลุ่มหนึ่งจัดให้อีกกลุ่มหนึ่ง
ประกอบไปด้วยจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง เนื้อหาสาระ อัตรา เวลาเรียน
กิจกรรมประสบการณ์ และการประเมินผลการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถมีเจตคติที่ดีในการอยู่ร่วมกัน
มีพฤติกรรมตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของหลักสูตร แนวคิดนี้จะเน้นหลักสูตรในฐานะที่เป็นเอกสารเป็นรูปเล่ม
ซึ่งจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ เอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร
๓.๑.๓
หลักสูตรในฐานะที่เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะให้แก่ผู้เรียน
แนวคิดของหลักสูตรในฐานะที่เป็นกิจกรรมต่าง
ๆ ที่จัดให้แก่ผู้เรียนนี้เป็นการมองหลักสูตรในลักษณะของกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ครูและนักเรียนจัดขึ้น หรือกิจกรรมการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ
ที่เตรียมไว้และจัดให้แก่ผู้เรียนโดยทั้งในโรงเรียนโดยทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ตามที่กำหนด
กิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะนำไปสู่ประสบการณ์ทางด้านความรู้
ความเข้าใจ เจตคติ ทักษะต่าง ๆ อันแสดงถึงการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมที่ควรจัดให้ผู้เรียนจะต้องปรากฏอยู่ในหลักสุตรอย่างชัดเจน
หลักสูตรหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียน
๓.๑.๔ หลักสูตรในฐานะแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่คาดหวังแก่นักเรียน
แนวคิดของหลักสูตรในฐานนะแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่คาดหวังแก่นักเรียนนี้
จะเป็นแผนในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติ
โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และ พฤติกรรมตามที่กำหนด แผนสำหรับจัดโอกาสทางการศึกษาจะแสดงเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ของการออกแบบหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผล
แผนนี้สร้างขึ้นตามประเภทสถานการณ์หรือกลุ่มบุคคลในระดับการศึกษาต่าง ๆ
๓.๑.๕ หลักสูตรในฐานนะที่ประสบการณ์
แนวคิดของหลักสูตรในฐานะที่เป็นประสบการณ์ของผู้เรียนนั้น
หมายถึง ประสบการณ์ทุกอย่างของนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงเรียน
รวมถึงเนื้อหาวิชาที่เรียนจัดให้แก่ผู้เรียนด้วยแนวคิดนี้เกิดจากสาเหตุ ๒ ประการ
คือ ประการที่หนึ่ง การไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของหลักสูตรในความหมายที่แคบไม่ส่งเสริม
ให้เกิดพัฒนาการรอบด้านขึ้นในตัวผู้เรียน
ประการที่สองการสอนของครูที่ยึดหนังสือเรียนและเนื้อหาสาระมากเกินไป ทำให้การสอนจืดชืด
ไม่มีชีวิตชีวาโรงเรียนจึงจัดกิจกรรมสร้างเสรมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดได้กระทำ
ได้แก้ปัญหา และค้นพบด้วยตัวเอง
การจัดหลักสูตรจึงควรพิจารณาถึงประสบการณ์ทุกด้านที่พึงมีของผู้เรียน
๓.๑.๖ หลักสูตรในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายทาง
แนวคิดแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรในฐานนะที่เป็นจุดหมายปลายทางนั้น
เป็นสิ่งที่สังคมมุ่งหวัง หรือ คาดหวังให้เด็กได้รับ กล่าวคือ ผู้ที่ศึกษาจนจบหลักสูตรไปแล้วมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง
จะเกอดผลอย่างไรในตัวผู้เรียนบ้าง แนวคิดนี้มองหลักสูตรในฐานะที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวังที่จะเกิดขึ้นจากการเรียนรู้
๓.๑.๗ หลักสูตรในฐานะที่เป็นระบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
แนวคิดของหลักสูตรในฐานะที่เป็นระบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น
เป็นการมองหลักสูตรในฐานะที่เป็นแผนการเตรียมโอกาสของการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่จัดขึ้นโดยโรงเรียน
หรือสถาบันการศึกษาที่รับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยรวมเอาแผนย่อยๆ
๓.๒ คุณสมบัติของหลักสูตร
คุณสมบัติของหลักสูตร หมายถึง
ธรรมชาติหรือลักษณะของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไรซึ่งอาจหมายรวมถึงข้อตกลงหรือข้อยอมรับเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของหลักสูตร คุณสมบัติหรือกฎเกณฑ์ของหลักสูตรมีดังนี้
๓.๒.๑.
หลักสูตรมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamis) และเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่เสมอ
คุณสมบัติข้อนี้แสดงว่าประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้แก่ผู้เรียนจะไม่ซ้ำเหมือนเดิม แต่จะเปลี่ยนแปลงและเพิ่มอยู่เสมอ
โดยจะเปลี่ยนแปลงในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามความจำเป็น
๓.๒.๒.
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการพัฒนาต่อเนื่อง
คุณสมบัติข้อนี้มีลักษณะใกล้เคียงและเสริมข้อแรกคือ หลักสูตรมีการเปลี่ยนต่อเนื่องกันไปตามความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักรในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมอยู่ด้วย หลักสูตรเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ เพราะหลักสูตรที่ดีควรตอบสนองต่อสังคม และเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
๓.๒.๓.
หลักสูตรไม่สามารถแสดงกิจกรรมหรือกระทำกิจกรรมต่างๆ
ตัวของมันเองได้จึงจำเป็นต้องใช้กิจกรรมหรือการกระทำอย่างอื่นมาช่วย เช่น
การพัฒนาหลักสูตรการจัดทำหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร การสร้างหลักสูตร
เพราะฉะนั้นหลักสูตรจึงทำหน้าที่เป็นผู้กระทำอยู่ตลอดเวลา
๓.๓ ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญอย่างยิ่งของการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาประเภทและระดับใดก็ดีจะขาดหลักสูตรไปไม่ได้ เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม
หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะเสริมสร้างความเจริญเติมโตให้แก่ผู้เรียน
นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องชี้เห็นโฉมหน้าของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรอีกด้วย
ใจทิพย์
เชื้อรัตนพงษ์ (๒๕๓๘ : ๑๑)
ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าการที่จะทราบว่าการศึกษาในระดับต่าง ๆ
จะดีหรือไม่ดีสามารถดูจากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้น ๆ
ของประเทศเพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติเข้าสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่าง
ๆ หลักสูตรเป็นเสมือนกับหางเสือที่คอยจะกำหนดทิศทางให้การสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและนโยบายของศึกษา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน
๓.๔ องค์ประกอบของหลักสูตร (Curriculum
Component)
องค์ประกอบของหลักสูตรอาจจะแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด
แต่ส่วนใหญ่มีประเด็นหรือองค์ประกอบที่สำคัญเหมือนกันอย่างครบถ้วน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถนำหลักสูตรไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญ
๓.๔.๑ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum
Aims)
หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตร
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตใน
การให้การศึกษาแก่ผู้เรียน
๓.๔.๒ เนื้อหา (Content)
หมายถึง
เนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา
ไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาและประสบการณ์
การเรียงลำดับเนื้อหาสาระ
พร้อมทั้งการกำหนดเวลาเรียนที่เหมะสม
๓.๔.๓ การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum
Implementation)
หมายถึง การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิวัติ
ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ
(การจัดทำวัสดุหลักสูตร ได้แก่
คู่มือครู เอกสารหลักสูตร แผนการสอน และแบบเรียน ฯลฯ)
, การจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งแวดล้อม
(การจัดโต๊ะเก้าอี้ ห้องเรียน
วัสดุอุปกรณ์ในการเรียน
จำนวนครูและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ), การดำเนินการสอน
๓.๔.๔ การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation)
หมายถึง การหาคำตอบว่า
หลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือ
ไม่มากน้อยเพียงใดและอะไรเป็นสาเหตุ
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
๑. ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษา
๒. ตรงตามลักษณะของพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ
๓. ตรงตามลักษณะวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของชาติ
๔. มีเนื้อหาสาระของเรื่องสอนบริบูรณ์เพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนคิดเป็น
ทำเป็นและมีพัฒนาการในทุกด้าน
๕. สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน
๖. หลักสูตรที่ดี
ควรสำเร็จขึ้นด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย
๗. หลักสูตรที่ดี
จะต้องยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ
๘. หลักสูตรที่ดีจะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อเนื่องกันไป
และเรียงจากความยากง่ายไม่ให้ขาดตอนจากกัน
๙. หลักสูตรที่ดีจะต้องเป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเด็ก
๑๐. ต้องเพิ่มพูนและส่งเสริมทักษะเบื้องต้นที่จำเป็นของเด็ก
๑๑. หลักสูตรที่ดีย่อมส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิดริเริ่ม
มีความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินชีวิต
๑๒. หลักสูตรที่ดีจะต้องส่งเสริมให้เด็กทำงานอิสระและทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๑๓. หลักสูตรที่ดีย่อมบอกแนวทาง
วิธีสอน และอุปกรณ์สื่อการสอนประกอบเนื้อหาสาระที่จะสอนไว้อย่างเหมาะสม
๑๔. หลักสูตรที่ดีย่อมมีการประเมินผลอยู่ตลอดเวลา
๑๕. หลักสูตรที่ดีจะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ
และมีโอกาสแก้ปัญหาต่าง ๆ
๑๖. หลักสูตรที่ดี
ต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา
๑๗. หลักสูตรที่ดี
ต้องจัดประสบการณ์ที่มีความหมายต่อชีวิตของเด็ก
๑๘. หลักสูตรที่ดีต้องจัดประสบการณ์และกิจกรรมหลายๆ อย่าง
๑๙.
หลักสูตรที่ดีจะต้องวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างเหมาะสมแก่การนำไปปฏิบัติและสะดวกแก่การวัดและประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น