กิจกรรมท้ายบทที่ ๑
๑.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษา การเรียนรู้และหลักสูตร
การพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา
เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง
และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน
คือการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น
เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาระยะยาว)
ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ หรือยุคสมัยมากกว่า
คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น (การศึกษาระยะสั้น) เช่น
เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจกรรมต่าง ๆ
ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสองอย่างนี้ให้สัมพันธ์กันเพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตแลสังคมอย่างมาก
การศึกษาการเรียนรู้
การศึกษา
ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด
เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งโดยทั่วไป
การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ
ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ
แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ
การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ
จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษา (Education)
เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้
การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง
และในฐานะที่เป็นทรัพยากรการศึกษา เป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้
หลักสูตร
คำว่า
“หลักสูตร” (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า
“currere” “running course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง
การเปรียบเทียบหลักสูตรกับสนาม หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งอาจเนื่องมาจากการที่ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาในระดับใดหรือหลักสูตรใดก็ตาม
ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับ
ความหมายของหลักสูตร
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2552 คือ ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายของหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
(
กู๊ด Good
) นักวิชาการที่ศึกษาทางด้านหลักสูตร
ได้นิยามและให้ความหมายของหลักสูตรไว้ ๓ ประการ คือ
๑.
หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
๒.
หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน
ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อใน
ทางอาชีพต่อไป
๓.
หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
(
โอลิวา Oliva ) กล่าวให้ความหมายของหลักสูตรว่า หลักสูตร คือ
แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน
ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน และในทางปฏิบัติหลักสูตรประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง
ๆ ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลากหลาย
เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย
(Unit) เป็นรายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง
ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้น
เรียนหรือโรงเรียนก็ได้
๒.อุปมาอุปมัย
:
เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์
หลักสูตรเปรียบเทียบได้กับสิ่งใด
หลักสูตรเปรียบได้กับ
ยานพาหนะ เพราะจะช่วยนำทางเราไปสู่จุดหมาย แต่การจะไปสู่จุดหมายได้นั้น
เราต้องบังคับให้ถูกทิศทางและวิธี จึงจะไปถึงจุดหมายได้ ยานพาหนะก็จะต้องสมบูรณ์แบบ
จึงจะสามารถเคลื่อนที่ได้ ถึงแม้เราจะมียานพาหนะที่สมบูรณ์แบบแล้ว
แต่เราไม่ขับขี่หรือบังคับเราก็จะไม่ไปถึงจุดหมาย หลักสูตรก็เช่นกัน การที่จะมีการศึกษาที่ดีต้องมีหลักสูตรที่สมบูรณ์
และเราต้องเป็นผู้ที่พัฒนาตนเองตามหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น