วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

หลักสูตรสัมพันธ์วิชา


หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum) คือ หลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชาหรือระหว่างวิชา แนวคิดของหลักสูตรสัมพันธ์นี้ เป็นแนวคิดที่จะพยายามขจัดปัญหาอันเกิดขึ้นในหลักสูตรหมวดวิชา เนื่องจากหลักสูตรหมวดวิชานั้นมีของเขตของเนื้อหาอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในด้านเนื้อหาประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งการกำหนดครูให้อยู่แต่ละหมวดวิชา ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในเนื้อหาที่ต่างหมวดวิชากัน
หลักสูตรสัมพันธ์พยายามกำหนดเนื้อหาวิชาในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหมวดใดหมวดหนึ่งตามเนื้อหาสาระและโครงสร้างของวิชานั้น ๆ แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน ดร.สุจริต เพียรชอบ ได้กล่าวถึงวิธีการที่จะทำให้หมวดวิชาและแต่ละวิชาสัมพันธ์มี 4 วิธี คือ (สุจริต เพียรชอบ. 2521: 9-11)
1. การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก เช่น ครูสอนวรรณคดี ก็อาจให้นักเรียนวาดภาพประกอบเป็นการแสดงออกซึ่งจินตนาการของนักเรียน นักเรียนอาจร่วมกันร้องเพลง เล่นละครหรืออาจแสดงบทบาทสมมติ กระบวนการเรียนการสอนเช่นนี้ คือการสอนวิชาภาษาไทยให้สัมพันธ์กับวิชาศิลปศึกษา หรืออาจสัมพันธ์กับวิชาประวัติศาสตร์
2. หมวดวิชาสังคมศึกษาและหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาบางอย่างซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกัน เช่น ในเรื่องของสุริยจักรวาล ครูทั้งสองหมวดช่วยกันคิดและวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน ก็จะทำให้วิชาภูมิศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ในเรื่องของวิชาฟิสิกส์มีความสัมพันธ์กันมากขึ้นและในความรู้สึกของผู้เรียนก็จะรู้สึกสนุกสนานและจะเรียนเพียงครั้งเดียวก็จะครอบคลุมเนื้อหาทั้งสองวิชา
3. ถ้าปัญหาเกิดขึ้นเหมือนกรณีที่สอง ครูทั้งสองหมวดวิชาอาจวางแผนกิจกรรมการเรียนดารสอนร่วมกัน ดำเนินการสอนร่วมกัน และใช้เวลาการสอนเป็นช่วงระยะยาวเป็นช่วงระยะยาวเป็นหลาย ๆ คาบติดต่อกัน
4. การกำหนดหัวข้อเรื่องหรือปัญหาต่าง ๆ มักจะต้องอาศัยความเกี่ยวพันของหมวดวิชาหรือวิชาหลาย ๆ สาขาพิจารณาร่วมกัน กิจกรรมการเรียนการสอนก็จำเป็นต้องอาศัยวิธีการหลาย ๆ อย่าง เช่น ในเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ปัญหาการวางแผนครอบครัวต้องอาศัยเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาศาสตร์ เป็นต้น
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (The Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ แรกทีเดียวการแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาใช้ เช่น ให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของหลักสูตรที่เน้นเรื่องผู้สอนเป็นผู้สั่งการหรือจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน แต่การปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่ว่า หลักสูตรรายวิชามีขอบเขตแคบเฉพาะวิชา และยังมีลักษณะแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยๆ อีกด้วย
           ในระยะต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขอีกโดยจัดให้มีความเชื่อมโยงระหว่างวิชาต่างๆ ทำให้เกิดหลักสูตรสัมพันธ์วิชาขึ้น วิธีการเชื่อมโยงก็ทำทั้งในระดับความคิดและระดับโครงสร้างดังได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตามหลักสูตรสัมพันธ์วิชาก็คือหลักสูตรรายวิชาอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง  แต่เป็นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกัน มาเชื่อมโยงกันเข้าแล้วจัดสอนเนื้อหาเหล่านั้นในคราวเดียวกัน  วิธีการนี้อาศัยหลักความคิดของแฮร์บารตที่ว่าการที่จะเรียนรู้สิ่งใดได้ดีผู้เรียนจะต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนและสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้นการนำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเชื่อมโยงกับอีกวิชาหนึ่งในการเรียนการสอน  ย่อมเป็นการส่งเสริมหลักความคิดดังกล่าวข้างต้น  ตัวอย่างเช่น การนำเอาเนื้อหาของวิชาภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย  เขมร  ลาว  และเวียดนาม  หรือนำเอาหลักเกณฑ์ของวิชาคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงเป็นเครื่องมือในการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

 สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชา  เท่าที่ปฏิบัติกันมามีอยู่ 3 วิธีคือ
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง  กล่าวคือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง เช่น เมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่งถ้าปรากฏว่ามีวรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตอนนั้นอยู่ด้วย  ก็นำเอาวรรณคดีนั้นมาศึกษาด้วยในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มความเข้าใจแก่ผู้เรียนมากขึ้น ในทำนองเดียวกันอาจนำเอาข้อเท็จจริงของวิชาภูมิศาสตร์มาสอนให้ทราบถึงสาเหตุของสงคราม  หรือแสดงเส้นทางของกองทัพ  หรือแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศคู่สงครามก็ได้

   2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์  การสร้างความสัมพันธ์วิธีนี้เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราวหรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง  เช่น  สร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงวิชาจิตวิทยากับสังคมวิทยาเข้าด้วยกัน โดยใช้หลักจิตวิทยาอธิบายเหตุการณ์ในสังคมในวิชาประวัติศาสตร์  เป็นต้นว่าใช้กฎการขาดความมั่นคงและการถดถอย (Frustration and Regression) แสดงให้เห็นว่าการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีพฤติกรรมก้าวร้าวและใช้อาวุธเข้าทำร้ายประเทศเพื่อนบ้าน ก็เนื่องจากประชาชนในประเทศถูกกดดันมาเป็นเวลานาน ในทำนองเดียวกันกฎเกณฑ์ของวิชาวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ก็อาจนำมาเชื่อมโยงกันได้
การนำเอากฎเกณฑ์ของวิชาหนึ่งไปใช้กับอีกวิชาหนึ่ง ดังได้กล่าวมานี้ เป็นผลให้เกิดการหลอมวิชา (Fusion)  และเกิดหลักสูตรอีกแบบหนึ่งเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)
   3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรมและหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่  2 แค่แตกต่างกันตรงที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรมและหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง ตัวอย่างเช่น อาจเชื่อมโยงแนวความคิดของผู้ประพันธ์วรรณคดี  ยุคหนึ่ง เข้ากับระบบการปกครองในยุคนั้นก็ได้ คือใช้วรรณคดีสะท้อนความคิดด้านการปกครอง ทำให้มองเห็นแนวความคิดได้เด่นชัดยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ ๑๐

1. การประเมินหลักสูตรมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร ตอบ.หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษา...